Languages
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พัดลมไฟฟ้า  (อ่าน 74208 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #45 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 01:10:32 pm »

วงจรแบบที่ 3 ใช้พัดลมแบบ 2 สเตป (2 สปีด) ตัวเดียว
อันนี้จะคล้ายกับแบบที่ 2 ส่วนในพัดลมแบบสองสเตปนั้นให้มองว่ามีมอเตอร์อยู่สองชุดในพัดลมตัวเดียว
อุปกรณ์ที่ใช้ พัดลม 2 สเตป 1 ตัว รีเลย์ 2 ตัว เทอร์โมสวิทช์แบบ 2 คอนแทคตัดต่อ 2 อุณหภูมิ 1 ตัว
การทำงานก็จะเหมือนแบบที่สองคือทำงานที่สองอุณหภูมิ (ขอยกตัวอย่างการใช้เทอร์โมสวิทช์ตัวเดียวกัน)
พัดลมสเตป1 ทำงานที่ 97 องศา หยุดที่ 87 องศา,  พัดลมสเตป2 ทำงานที่ 100 องศา หยุดที่ 95 องศา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2014, 04:02:47 pm โดย ปาโลมา » บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #46 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 01:11:56 pm »

วงจรแบบที่ 4 ใช้พัดลมแบบ 2 สเตป 2 ตัว
อันนี้เอาแบบที่ 2 และ 3 มารวมกัน เพื่อให้เกิดการทำงานแบบ active-active redundancy ตามที่ผมโม้ไว้ในคหแรกๆ
อุปกรณ์ที่ใช้ พัดลม 2 สเตป 2 ตัว รีเลย์ 2 ตัว เทอร์โมสวิทช์แบบ 2 คอนแทคตัดต่อ 2 อุณหภูมิ 1 ตัว
แบบนี้ก็จะทำงานที่สองอุณหภูมิเหมือนแบบที่ 2 และ 3 (ขอยกตัวอย่างการใช้เทอร์โมสวิทช์ตัวเดียวกัน)
พัดลมตัวที่ 1 และ 2 จะทำงานสเตป1 ที่ 97 องศา หยุดที่ 87 องศา,  พัดลมตัวที่ 1 และ 2 จะทำงานสเตป2 ที่ 100 องศา หยุดที่ 95 องศา



วงจรที่ผมอยากลงหมดเท่านี้ละครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2014, 04:01:38 pm โดย ปาโลมา » บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #47 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 11:12:44 pm »

วงจรที่ผมใช้อยู่จะเป็นเหมือนแบบที่ 4 แต่แทนที่เทอร์โมสวิทช์ด้วยกล่องควบคุมเพื่อที่เราจะได้จัดการเงื่อนไขการเปิด/ปิดพัดลมได้อิสระตามใจเราได้มากกว่า
หากถามว่าจำเป็นต้องมีกล่องควบคุมแบบที่ผมใช้อยู่ไหม คำตอบคือไม่จำเป็นครับ เพราะวงจรพัดลมไฟฟ้าที่ใช้กันเกือบทั้งหมดในรถทั่วไปทั้งที่ติดตั้งมาจากโรงงานและที่ดัดแปลงเพิ่มเติมกันทีหลังก็จะอยู่ใน 4 แบบด้านบนละครับ ซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้ว

เจ้ากล่องควบคุมที่ทำขึ้นมาก็เพื่อให้จัดการกับเงื่อนไขเพิ่มเติมอื่นๆได้ง่ายเช่น
- กำหนดอุณหภูมิเปิด/ปิดได้อิสระ
- ลงน้ำลึก พัดลมไม่หมุน น้ำจะได้ไม่กระจาย
- เปิดแอร์ พัดลมหมุน ช่วยให้แอร์เย็นเร็วขึ้นอีก
- แสดงสถานะการทำงานได้ ด้วยไฟ LED, จอ LCD หรือเสียง
- ตรวจสอบการหมุน/ไม่หมุนของพัดลมได้
และอื่นๆอีกหลายอย่างตามแต่เราจะต้องการครับ (ผมเองทำใช้แค่บางข้อ) ซึ่งหลายเงื่อนไขด้านบนเราสามารถเพิ่มวงจรอิเลคทรอนิกส์เข้าไปในวงจรพัดลมไฟฟ้าได้ แต่บางเงื่อนไขก็ไม่สามารถทำวงจรอิเล็คอย่างเดียวได้ง่ายนัก การใช้วงจร + โปรแกรมเพิ่มเติมในกล่องควบคุมจะทำได้ง่ายและมีอิสระมากกว่า



fan controller ที่อยู่ในรูปด้านบนไม่ใช่กล่องที่ผมใช้อยู่ครับ เจอรูปกล่องนี้ดูง่ายดี ผมเอามาจาก http://www.frsport.com/DIF-Dual-Electric-Fan-Controller_p_1373.html
 
เห็นราคากล่องควบคุมที่ขายกันในตปทแล้วนี  อ๋าย!!!!! สงสัยต้องทำส่งลงอีเบย์ไปขายฝรั่งบ้างละ ฟังก์ชั่นของเราเยี่ยมกว่าแต่รูปลักษณ์นั้น  โอ๊ยมึน

ในส่วนกล่องควบคุมซึ่งใช้ MCU นั้นผมคงไม่สามารถลงรายละเอียดในกระทู้นี้ได้ครับ หลักๆเป็นเรื่องเขียนโปรแกรมซึ่งต้องศึกษากันยาวหน่อย
หากป๋าๆท่านใดสนใจหรืออยากจะแลกเปลี่ยนในเรื่องพวกนี้ผมยินดีครับ

ข้อมูลทางด้านเทคนิคหมดเท่านี้ละครับ  lala
บันทึกการเข้า
Lek Driller
Newbie
*

like: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 114



« ตอบ #48 เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 02:41:19 pm »

ขอแจมหน่อยครับ ผมติดพัดลมไฟฟ้า 2 ตัว 2 สเตป + หม้อน้ำอลู เสียงพัดลมไฟฟ้าจะดังหึ่งๆ เรื่องลดความร้อนเครื่องยนต์ก็ได้มานิดหน่อย แต่จะเห็นผลเรื่องที่ไม่มีพัดลมหน้าเครื่องมาคอยกินแรงเครื่องแถมแอร์เย็นฉ่ำขึ้นอีกตอนที่พัดลมไฟฟ้าทำงาน แต่ถ้าพัดลมไฟฟ้าหยุดทำงานก็จะร้อนหน่อยต้องคอยเร่งให้พัดลมแอร์ทำงาน

รถผมโบ td04hl ตั้งค่า temp warning จาก smart gauge และเกจ์ water temp ที่ 97 องศา ค่า temp หลังจากติดตั้งหม้อน้ำ+พัดลมชุดใหม่ก็ไม่ต่างจากชุดหม้อน้ำ+พัดลมเดิมครับ เกือบ 90 องศา ผมใช้ปรับบูสต์ไฟฟ้าคุม low boost 20 psi ส่วน high boost 25 psi วิ่ง low boost กดแช่ ความร้อนเอาอยู่ครับ แช่ยาวไม่มีปัญหาไม่เกิน 92-93 องศา แต่ถ้าวิ่ง high boost ความร้อนขึ้น แต่จะมาช้ากว่าชุดหม้อน้ำเดิม+พัดลมเดิม ประมาณ 1 นาที รถผมเดิมเป็นโบไม่วีจี 140 ม้านะครับ เลยเปลี่ยนมูเล่ย์ปั้มน้ำเป็นของวีจี สรุปว่าวิ่ง high boost ยืดระยะกดแช่เต็มคันเร่งได้อีกประมาณ 1 นาที
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 08, 2014, 10:00:49 pm โดย Lek Driller » บันทึกการเข้า
Lek Driller
Newbie
*

like: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 114



« ตอบ #49 เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 09:47:03 pm »




บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #50 เมื่อ: กันยายน 09, 2014, 09:02:41 am »

ขอแจมหน่อยครับ ผมติดพัดลมไฟฟ้า 2 ตัว 2 สเตป + หม้อน้ำอลู เสียงพัดลมไฟฟ้าจะดังหึ่งๆ เรื่องลดความร้อนเครื่องยนต์ก็ได้มานิดหน่อย แต่จะเห็นผลเรื่องที่ไม่มีพัดลมหน้าเครื่องมาคอยกินแรงเครื่องแถมแอร์เย็นฉ่ำขึ้นอีกตอนที่พัดลมไฟฟ้าทำงาน แต่ถ้าพัดลมไฟฟ้าหยุดทำงานก็จะร้อนหน่อยต้องคอยเร่งให้พัดลมแอร์ทำงาน

รถผมโบ td04hl ตั้งค่า temp warning จาก smart gauge และเกจ์ water temp ที่ 97 องศา ค่า temp หลังจากติดตั้งหม้อน้ำ+พัดลมชุดใหม่ก็ไม่ต่างจากชุดหม้อน้ำ+พัดลมเดิมครับ เกือบ 90 องศา ผมใช้ปรับบูสต์ไฟฟ้าคุม low boost 20 psi ส่วน high boost 25 psi วิ่ง low boost กดแช่ ความร้อนเอาอยู่ครับ แช่ยาวไม่มีปัญหาไม่เกิน 92-93 องศา แต่ถ้าวิ่ง high boost ความร้อนขึ้น แต่จะมาช้ากว่าชุดหม้อน้ำเดิม+พัดลมเดิม ประมาณ 1 นาที รถผมเดิมเป็นโบไม่วีจี 140 ม้านะครับ เลยเปลี่ยนมูเล่ย์ปั้มน้ำเป็นของวีจี สรุปว่าวิ่ง high boost ยืดระยะกดแช่เต็มคันเร่งได้อีกประมาณ 1 นาที

ขอบคุณป๋าที่เข้ามาช่วยแชร์ข้อมูลครับ ปาป๋าเล็กนี่จัดหนักพอประมาณ suadyod

พัดลมที่ผมใช้มีเสียงเข้ามาในห้องโดยสารบ้างเหมือนกันแต่ไม่มาก ตอนรถวิ่งแทบจะไม่ได้ยินละครับ ตามผมที่เคยลงไว้ครับสเตป1สองตัวนี่เสียงพัดลมแอร์ดังกว่า

ส่วนเรื่องแอร์เย็นช้าตอนพัดลมหม้อน้ำไม่ทำงานนี่ในปาผมไม่มีปัญหานี้ครับ ผมตั้งพัดลมไฟฟ้าสเตป1ทำงานที่ 87 และหยุดที่ 84 องศาครับ แอร์เย็นเร็วขึ้นนิดหน่อยและต่อเนื่องดีครับ ii
อีกเรื่องก็หม้อน้ำเดิมเป็นชั้นเดียวซึ่งความหนาน้อยกว่าสองชั้นของป๋า (ดูจากรูปน่าจะเป็นสองชั้น?) ลมน่าจะผ่านได้ง่ายกว่าและสะสมความร้อนน้อยกว่า
ตอนที่พัดลมแอร์ทำงานแต่พัดลมหม้อน้ำไม่ทำงานนี่ความร้อนจะอั้นอยู่ระหว่างแผงแอร์กับหม้อน้ำครับ

สำหรับป๋าๆที่ใช้พัดลมไฟฟ้าโดยใช้เทอร์โมสวิทช์ควบคุม หากอยากจะให้แอร์เย็นเร็วขึ้นและต่อเนื่องมีวิธีแก้คือ
1. เปลี่ยนเทอร์โมสวิทช์ให้ตัดต่อที่อุณหภูมิต่ำลง หากหาได้เอาแบบ ON ที่ 87-88 OFF ที่ 84-85 องศาน่าจะเหมาะครับ (ตามสเปคเครื่อง 4D56 วาล์วน้ำเริ่มเปิดที่ 82+-2 องศา)
หรือ
2. ทำวงจรเพิ่มเพื่อให้พัดลมไฟฟ้าทำงานพร้อมพัดลมแอร์ ใช้รีเลย์เพิ่มตัวเดียวก็ได้ครับ ทำแบบนี้จะตรงประเด็นมากกว่าแบบที่ 1 ครับ
 yes!!
บันทึกการเข้า
azure_abb
Jr. Member
**

like: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 765



« ตอบ #51 เมื่อ: กันยายน 09, 2014, 06:08:04 pm »

ขอแจมหน่อยครับ ผมติดพัดลมไฟฟ้า 2 ตัว 2 สเตป + หม้อน้ำอลู เสียงพัดลมไฟฟ้าจะดังหึ่งๆ เรื่องลดความร้อนเครื่องยนต์ก็ได้มานิดหน่อย แต่จะเห็นผลเรื่องที่ไม่มีพัดลมหน้าเครื่องมาคอยกินแรงเครื่องแถมแอร์เย็นฉ่ำขึ้นอีกตอนที่พัดลมไฟฟ้าทำงาน แต่ถ้าพัดลมไฟฟ้าหยุดทำงานก็จะร้อนหน่อยต้องคอยเร่งให้พัดลมแอร์ทำงาน

รถผมโบ td04hl ตั้งค่า temp warning จาก smart gauge และเกจ์ water temp ที่ 97 องศา ค่า temp หลังจากติดตั้งหม้อน้ำ+พัดลมชุดใหม่ก็ไม่ต่างจากชุดหม้อน้ำ+พัดลมเดิมครับ เกือบ 90 องศา ผมใช้ปรับบูสต์ไฟฟ้าคุม low boost 20 psi ส่วน high boost 25 psi วิ่ง low boost กดแช่ ความร้อนเอาอยู่ครับ แช่ยาวไม่มีปัญหาไม่เกิน 92-93 องศา แต่ถ้าวิ่ง high boost ความร้อนขึ้น แต่จะมาช้ากว่าชุดหม้อน้ำเดิม+พัดลมเดิม ประมาณ 1 นาที รถผมเดิมเป็นโบไม่วีจี 140 ม้านะครับ เลยเปลี่ยนมูเล่ย์ปั้มน้ำเป็นของวีจี สรุปว่าวิ่ง high boost ยืดระยะกดแช่เต็มคันเร่งได้อีกประมาณ 1 นาที

ขอบคุณป๋าที่เข้ามาช่วยแชร์ข้อมูลครับ ปาป๋าเล็กนี่จัดหนักพอประมาณ suadyod

พัดลมที่ผมใช้มีเสียงเข้ามาในห้องโดยสารบ้างเหมือนกันแต่ไม่มาก ตอนรถวิ่งแทบจะไม่ได้ยินละครับ ตามผมที่เคยลงไว้ครับสเตป1สองตัวนี่เสียงพัดลมแอร์ดังกว่า

ส่วนเรื่องแอร์เย็นช้าตอนพัดลมหม้อน้ำไม่ทำงานนี่ในปาผมไม่มีปัญหานี้ครับ ผมตั้งพัดลมไฟฟ้าสเตป1ทำงานที่ 87 และหยุดที่ 84 องศาครับ แอร์เย็นเร็วขึ้นนิดหน่อยและต่อเนื่องดีครับ ii
อีกเรื่องก็หม้อน้ำเดิมเป็นชั้นเดียวซึ่งความหนาน้อยกว่าสองชั้นของป๋า (ดูจากรูปน่าจะเป็นสองชั้น?) ลมน่าจะผ่านได้ง่ายกว่าและสะสมความร้อนน้อยกว่า
ตอนที่พัดลมแอร์ทำงานแต่พัดลมหม้อน้ำไม่ทำงานนี่ความร้อนจะอั้นอยู่ระหว่างแผงแอร์กับหม้อน้ำครับ

สำหรับป๋าๆที่ใช้พัดลมไฟฟ้าโดยใช้เทอร์โมสวิทช์ควบคุม หากอยากจะให้แอร์เย็นเร็วขึ้นและต่อเนื่องมีวิธีแก้คือ
1. เปลี่ยนเทอร์โมสวิทช์ให้ตัดต่อที่อุณหภูมิต่ำลง หากหาได้เอาแบบ ON ที่ 87-88 OFF ที่ 84-85 องศาน่าจะเหมาะครับ (ตามสเปคเครื่อง 4D56 วาล์วน้ำเริ่มเปิดที่ 82+-2 องศา)
หรือ
2. ทำวงจรเพิ่มเพื่อให้พัดลมไฟฟ้าทำงานพร้อมพัดลมแอร์ ใช้รีเลย์เพิ่มตัวเดียวก็ได้ครับ ทำแบบนี้จะตรงประเด็นมากกว่าแบบที่ 1 ครับ
 yes!!

เห็นด้วยกับข้อสองครับผมเคยทำใส่รถเก๋ง เป็นสองเสต็บ คือ อุณภูมิถึง พัดแรง แอร์ทำงานเดี่ยว พัดเบา พอความร้อนทำงานอยู่แอร์ต่อ ก็จะทำงานค้างเสต็บแรง แล้วหยุดพร้อมแอร์   
บันทึกการเข้า

Lek Driller
Newbie
*

like: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 114



« ตอบ #52 เมื่อ: กันยายน 09, 2014, 08:59:15 pm »

แต่ปัญหาของพัดลมไฟฟ้าที่ผมเจอคือ นานๆ ครั้ง (ย้ำ นานๆ ทีนะครับ) ดับเครื่องยนต์ บิดกุญแจออกมาแล้ว พัดลมยังติดนี่สิครับงงเหมือนกัน ต้องไปสตาร์ทเครื่องแล้วดับน่ะครับ

ของผมหม้อน้ำสองช่องครับ งานบางมดเรซซิ่ง ใช้น้ำยาหม้อน้ำของศูนย์ครับ ส่วนพัดลมพร้อมโครงได้มาถูก พันปลายๆ ครับ
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #53 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 08:19:46 am »

พัดลม+โครงป๋าได้มาถูกมาก ผมเคยเห็นแถวตลาดพูนทรัพย์ขายกันแถวสามพันห้าถึงสี่พันยังไม่รวมค่าติดตั้ง งานเหมือนกับตัวที่ผมใช้อยู่ครับ
ผมได้มาสองพันกว่า อู่ติดตั้งบอกว่าถูกมากแล้วแต่ของป๋าถูกกว่าอีก  Angry

ปัญหาเรื่องพัดลมติดตอนดึงกุญแจออกแล้วนี่ต้องมีสองเงื่อนไขเกิดขึ้นพร้อมกันคือ
- อุณหภูมิน้ำ ร้อนถึงจุดที่เทอร์โมสวิทช์ทำงาน (ไม่แน่ใจว่าของป๋าทำงานที่อุณหภูมิเท่าไหร่) ส่วนมากจะไม่ค่อยเจอเพราะตอนจอดรถอุณหภูมิต่ำลงบ้างแล้ว
- มีไฟ ACC หรือ ON จ่ายให้กับคอยล์รีเลย์ เข้าใจว่าร้านติดตั้งน่าจะต่อไฟ ON ให้ป๋า รู้สึกว่าในปาเราไฟ ON ที่จ่ายให้อุปกรณ์ต่างๆในห้องเครื่องจะหน่วงติดอยู่อีก 30 วิหลังจากดึงกุญแจออกแล้วครับ (อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ครับ)
อันนี้ตามที่ป๋าบอกว่านานๆเจอทีก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากอยากจะแก้ก็มีวิธีครับ  Cool
บันทึกการเข้า
Lek Driller
Newbie
*

like: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 114



« ตอบ #54 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 10:33:30 am »

เรื่องหลักการทำงานของพัดลมไฟฟ้าที่ผมติดตั้งนะครับ

สเตปแรก เมื่อแอร์ทำงาน พัดลมไฟฟ้าจะหมุนที่ความเร็วต่ำ พัดลมไฟฟ้าจะหยุดหมุนเมื่อแอร์ตัด
สเตปสอง เมื่อ water temp ถึง 95 องศา พัดลมจะหมุนที่ความเร็วสูงครับ

ทุกครั้งที่ water temp แตะที่ 95 องศา นั่นหมายความว่า ผมกำลังซิ่งแน่นอนครับ 555

เทอโมสวิตช์ผมไม่ทราบจริงๆ ครับ ทำงานที่ temp เท่าไหร่ ผมได้แต่ดู smart gauge ก่อนดับเครื่อง ปกติ temp จะอยู่ประมาณ 80 ปลายๆ อะครับ งงกะมันนิดๆ แต่ไม่เป็นไรครับป๋า ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ  suadyod
บันทึกการเข้า
seto16(เอก)
Hero Member
*****

like: 51
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2190


Soil Science is my life


« ตอบ #55 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 04:35:57 pm »

อันนี้ชอบมากครับ...เจ๋งสุดๆๆ
บันทึกการเข้า

ไม่เคยคิดเอาชนะใคร แค่เอาชนะตัวเองก็พอแล้ว...
"อยากให้เกษตรกรไทย ใช้ปุ๋ยและสารเคมีอย่างถูกต้อง ไม่น้อยไปจนผลผลิตเสียหาย หรือมากไปจนผู้บริโภคอันตราย"
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #56 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 08:12:37 pm »

เรื่องหลักการทำงานของพัดลมไฟฟ้าที่ผมติดตั้งนะครับ

สเตปแรก เมื่อแอร์ทำงาน พัดลมไฟฟ้าจะหมุนที่ความเร็วต่ำ พัดลมไฟฟ้าจะหยุดหมุนเมื่อแอร์ตัด
สเตปสอง เมื่อ water temp ถึง 95 องศา พัดลมจะหมุนที่ความเร็วสูงครับ

ทุกครั้งที่ water temp แตะที่ 95 องศา นั่นหมายความว่า ผมกำลังซิ่งแน่นอนครับ 555

เทอโมสวิตช์ผมไม่ทราบจริงๆ ครับ ทำงานที่ temp เท่าไหร่ ผมได้แต่ดู smart gauge ก่อนดับเครื่อง ปกติ temp จะอยู่ประมาณ 80 ปลายๆ อะครับ งงกะมันนิดๆ แต่ไม่เป็นไรครับป๋า ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ  suadyod

เจอขาซิ่งอีกละ Cheesy
ปาผมตอนยังใช้ฟรีคลัทช์อยู่กว่า ECT จะถึง 95 องศาต้องเหยียบแถวๆ 150-160 ครับ (ไม่ดันไม่ยกนะครับ)
ช่วงหลังนี่วิ่งเรื่อยๆครับ กลัวโดนส่อง นานๆจะเกิน 120 ซักที หลังจากติดพัดลมไฟฟ้ามาลองวิ่งแช่เร็วสุดแค่ 120-130 ความร้อนไม่ถึง 90 องศาตามที่เคยลงไว้ครับ

ป๋าเล็กให้ข้อมูลแบบเปิดเผยมากครับ  like เลย
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #57 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 08:20:02 pm »

อันนี้ชอบมากครับ...เจ๋งสุดๆๆ

มันดีจริงครับป๋าเอก เสียงใบพัดลมฟรีคลัทช์กินลมดังในช่วงรอบสูงหายไปและการตอบสนองของเครื่องยนต์ดีขึ้นชัดเจน
ส่วนข้อเสียยังไม่เจอเพิ่มเติมครับ  yes!!
บันทึกการเข้า
Lek Driller
Newbie
*

like: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 114



« ตอบ #58 เมื่อ: กันยายน 10, 2014, 09:26:52 pm »

ยินดีครับ แชร์ข้อมูลตามการใช้งานจริงครับ

ป๋าใช้ smart gauge หรือ gauge water temp อย่างเดียวครับ ของผมใช้คู่กัน ค่า water temp ต่างกันไม่เกิน 2 องศาครับ smart gauge อ่านค่าสูงกว่า 2 องศาผมเลยตั้ง warning ที่ 97 องศา ส่วนเกจ์ water temp ตั้งที่ 95 องศา

นอกเรื่องนิดนึงครับ Smart gauge อ่านค่า water temp ได้เสถียรดีครับ เมื่อก่อนใช้ monster gauge ค่า water temp แกว่งๆ กระโดดไปมา 60-90 องศา เลยขายไปเปลี่ยนมาใช้ smart gauge ไม่พบปัญหาอะไร
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #59 เมื่อ: กันยายน 12, 2014, 01:08:24 pm »

ECT ผมอ่านจาก canbus เหมือนกันครับแต่ผมไม่ได้ใช้ smart gauge

ส่วนเจ้า water temp gauge นี่ก็ติดเข้าไปก่อนจะทำพัดลมไฟฟ้าครับ
อ่านค่าเทียบดูจากทั้งสองตัวได้ใกล้เคียงกัน ส่วนมากไม่เกิน 2 องศา จะมีต่างกันมากๆก็ช่วงเครื่องเย็น วาล์วน้ำยังไม่เปิดครับ

อีกจุดนึง ECT ในปาผมมีอาการลดลงเร็วให้เห็นอยู่บ้างครับ เช่นจาก 85 ลงมา 81 ในช่วงวิ่งและมาเดินเบา ต่ำอยู่ซักพักก็ค่อยๆกลับขึ้นไปใหม่
ส่วนที่เกจไม่ลดเร็วตาม ECT ครับ
จุดนี้ผมยังไม่สนใจอะไรมากนัก ดูๆแล้วน่าจะยังปกติอยู่
อาการนี้น่าจะเป็นเพราะว่า sensor 2 ตัวอยู่คนละที่กัน และเป็นคนละประเภท ความไวต่างกันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง