Languages
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เอาข้อมูลมาฝากครับ  (อ่าน 2279 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Osaoka
Full Member
***

like: 21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1154



« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2012, 07:50:41 pm »

 
ไปอ่านเจอมาเลยเอามาฝากครับเผื่อมีประโยชน์ กับท่านหรือคนรอบข้าง


แพทย์แผนปัจจุบันมักจะเตือนให้ลดอาหารรสเค็มและธาตุโปแตสเซี่ยมที่มีในผักใบสีเขียวๆตลอดจน
โปรตีนจากถั่ว ว่าเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไต ไตวายเรื้อรัง   แต่ในฐานะที่เคยป่วยมาก่อนต้องบอกว่า
อาหารที่ต้องงดคือ น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เพราะน้ำมันใช้ทอดทั้งหลายจะอุดตันเส้นเลือด
ในหน่วยไต เหมือนกับที่อุดตันในหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

ข้าพเจ้าเป็นคนที่ชอบกินอาหารทอดกรอบ มาตั้งแต่เด็ก ๆ  วันไหนแม่ทำอาหารทอดก็จะกินข้าวได้มาก
โชคดีที่ข้าพเจ้าเกิดเร็วกว่าวัยรุ่นสมัยนี้ ๓๐-๓๕ ปี จึงได้กินน้ำมันหมูทอดอาหาร กล้วยแขกทอดน้ำมัน มะพร้าว   ซึ่งมีอันตรายน้อยกว่า น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี ได้แก่ น้ำมันปาล์ม  น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ

ท่านสังเกตไหมว่า ทำไมน้ำมันปาล์มขาดตลาด แล้วน้ำมันพืชอื่นๆ  ก็ขาดตลาด  หลายคนคงตอบว่า  ก็น้ำมันพืช  ใช้ทดแทนกันได้   คำตอบก็ถูกเผงเลย  แต่ยังไม่หมด  เพราะน้ำมันปาล์มเป็นส่วนผสมสำคัญ
ของน้ำมันพืชทุกชนิดต่างหาก พอน้ำมันปาล์มขาดแคลน น้ำมันอื่นๆ ก็เลยผลิตไม่ได้ตามความต้องการ ของผู้ซื้อ

ผมไม่เข้าใจเลยว่าหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและ NGO ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ทำไมละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่  เห็นชัดอยู่ว่า น้ำมันถั่วเหลืองที่มีสลากปิดข้างขวดว่า น้ำมันถั่วเหลืองแท้ 100% ไม่ได้ทำจาก ถั่วเหลืองทั้งหมด แต่อาศัยน้ำมันปาล์มเป็นหลัก นอกจากนี้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีทั้งหลายก็มีสารเคมี
ปนเปื้อน เช่น สารฟอกขาว เช่น โซดาไฟ กรดกำมะถัน สารกันหืน เช่น ธาตุไฮโดรเจน

ทำไม ธาตุไฮโดรเจน จึงเป็นอันตราย ในน้ำก็มีองค์ประกอบของไฮโดรเจน คำตอบก็คือ ไตจะขับไฮโดรเจน
อิออน ออกจากร่างกายเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่ถ้าน้ำมันพืชถูกเติมไฮโดรเจนเข้าไปไตก็ทำหน้าที่หนักขึ้นเป็น ๒-๓ เท่า นอกจากนี้การเติมไฮโดรเจนจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวสูง กลายเป็น ไขมันอิ่มตัวสูง หรือที่เรียกว่า Trans fat ทำให้เกิดคราบเหนียวหนึบจับตามหลอดเลือดต่างๆ ในร่างกาย ตลอดจนลำไส้เล็ก และหน่วยไต เหมือนคราบที่จับตามกระทะ เตา ผนังเตา ที่ต้องใช้ส้มมะขามเปียกเช็ดถู  การล้างเช็ดน้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู หรือ น้ำมันอื่นๆ ที่มิได้เติมไฮโดรเจน ด้วยผงซักฟอกจะขจัดคราบ ได้ง่ายกว่า น้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธี

การตรวจไตด้วยแล็บ BUN, Creatinine, Albumin urea ไม่สามารถเตือนว่าบุคคลกำลังจะเป็นโรคไต ไตวายเรื้อรังได้ ดังตัวอย่างชายคนหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ตรวจร่างกายประจำปีตลอดเวลานับสิบๆ ปี ค่าทั้ง ๓ ไม่เคยเกินค่าเฉลี่ย แต่มีอาการเจ็บคอบ่อยๆ กินยาฆ่าเชื้อก็ไม่หายใน ๑ สัปดาห์ ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อแรงขึ้นตลอดเวลา แต่อยู่มาปีหนึ่งก็พบค่าทั้ง ๓ เกินและแพทย์สั่งให้ฟอกไตเทียม (ฟอกเลือด)

ในโอกาสที่อนุสรณ์ถึงพ่อของเพื่อนสนิทคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตด้วยไตวายเรื้อรังที่อายุ ๘๔ ปี  ข้าพเจ้าจึงขอประมวล “สัญญาณอันตราย” ที่เตือนให้ระมัดระวังการกินอาหารทอด อาหารผัดน้ำมัน ครีมเทียม ช็อคโกแล็ต ฯลฯ

ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คืออาการที่เกิดจากการที่ไตของท่านทำงานผิดปกติ ท่านที่มีอาการดังกล่าว
ควรงดกินน้ำมันทุกชนิด ให้กินแต่อาหารปิ้ง ย่าง ต้ม นึ่ง เพราะโรคไตบางโรคสามารถแก้ไข  หรือ ชะลอการเสื่อมของไตได้

อาการซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายมีทั้งสิ้น ๖ อาการได้แก่
1. ปัสสาวะขัดหรือลำบาก เป็นอาการที่ชี้ชัดว่าท่านมีปัญหากับทางเดินปัสสาวะและอาจเป้นโรคไตก็ได้
แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มได้แก่ 
ก) อาการปัสสาวะแสบขัดที่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซึ่งมักพบเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ท่านที่เป็นชายถ้ามีอาการนี้อาจมีโรคนิ่วในระบบไตหรือต่อมลูกหมากซ่อนอยู่ก็ได้และอาจมีไข้
ข) อาการถ่ายปัสสาวะลำบาก  ต้องเบ่งแรง  ปัสสาวะไม่โชน หรือ ปัสสาวะสะดุดกลางคัน บางท่าน อาจมีปัสสาวะบ่อย หรือ ปัสสาวะกลางคืน ร่วมบ่งบอกถึงการอุดตันของท่อบัสสาวะที่พบบ่อยได้แก่ ต่อมลูกหมากโต (อักเสบ) หรือ มดลูกหย่อน(บวมโต)ในเพศหญิง
2 .ปัสสาวะกลางคืน  ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ในคนวัยหนุ่มสาวปกติ เมื่อนอนหลับ  ๖-๘ ชม. มักไม่ต้องตื่น ขึ้นมาปัสสาวะเวลากลางคืน เพราะกระเพาะปัสสาวะของคนเราสามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้ประมาณ ๒๕๐ ซีซี (น้ำ ๑ แก้ว) แต่ถ้าเข้าสู่วัยทองแล้ว คนปกติจะนอนเพียง ๔-๖ ชม. ก็ต้องตื่นมามาปัสสาวะในเวลากลางคืน
แต่ผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถลดการสร้างปัสสาวะในตอนกลางคืน ดังนั้นในตอนกลางคืน
จึงต้องลุกมาปัสสาวะ โดยทั่วไป ท่านอาจตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืนได้ ๒-๓ ครั้ง ขึ้นไป
3.ปัสสาวะเป็นเลือดสีน้ำล้างเนื้อหรือสีขาวขุ่นผิดปกติ
ปกติปัสสาวะจะมีสีเหลืองใส ถ้าสีเหลืองเหมือนขมิ้นสด แสดงว่ามีความผิดปกติเป็นเบื้องต้น แต่ถ้าสีแดงเหมือนน้ำฝางต้ม (หรือสีน้ำยาอุทัย) หรือ สีน้ำล้างเนื้อบ่งบอกอาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ปัสสาวะเป็นเลือดเกิดจากโรคนิ่ว หรือเกิดจากไตอักเสบ เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคเลือดออกง่าย กรณีที่น้ำปัสสาวะสีขาวขุ่นเหมือนน้ำข้าวเช็ด แสดงว่ามีหนองปนแล้ว และถ้าปัสสาวะมีสีดำเหมือนน้ำคลำ ก็แสดงว่าอาการมีเลือดปนหนองคั่งอยู่ภายใน
4.อาการบวมรอบดวงตา บวมหน้า บวมหลังเท้า
อาการบวมที่หน้า เช่น แก้ม ขมับ อาการบวมรอบๆ ดวงตา ได้แก่ เปลือกตาด้านบน และถุงใต้ตาด้านล่าง ในตอนเช้า เมื่อล้างหน้า ส่องกระจก จะสังเกตเห็นอาการบวมที่ใบหน้าและรอบๆ ดวงตา แต่ก็ยุบไปได้ระหว่างเวลากลางวัน สาเหตุการบวมเกิดจากการอั้นปัสสาวะระหว่างที่นอนหลับ ไปยิ่งนาน ยิ่งบวมมาก แต่ถ้าใครมีการบวมทั้งวันไม่ยุบลงก็เป็นสัญญาณเตือนของโรคไต หรือไตวายเรื้อรัง

อาการบวมที่เท้าอาจสังเกตพบในช่วงบ่าย หรือ เมื่อมีกิจกรรมในท่ายืน หรือนั่งห้อยเท้า นาน ๆ หลายชม.  รองเท้าที่เคยสวมใส่อาจคับขึ้น เมื่อใช้นิ้วมือกดที่หลังเท้า หรือ หน้าแข้งจะมีรอยกดบุ๋ม แต่อาการบวมนี้ ก็ี้พบได้ในโรคหัวใจ หรือ โรคตับก็ได้ อาการที่บวมกล่าวถึงโรคไตเรื้อรัง หมายถึง ลักษณะบวมที่หลังเท้า และที่หน้าแข้ง ถ้าเป็นมากแล้วกดลงมีรอยบุ๋ม อย่างไรก็ตามพบว่าคนที่มีอาการบวมจำนวนมาก ละเลยอาการไม่รู้สึกทุกข์ร้อนใดใด เพราะไม่เจ็บปวด ดังนั้น บางคนก็ปล่อยเวลาล่วงเลยมาเป็นหลายปีจึงไป พบแพทย์  กรณีที่แพทย์ให้ยาเสตียรอยด์ (เพรดนิดโซโลน)  แล้วอาการบวมที่หลังเท้าหายไป อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่า สาเหตุโรคไตหายไปด้วย  ให้ดูคอเลสเตอรอลในเลือดว่าลดลงต่ำกว่า ๑๕๐ มก./ดล.หรือไม่ ถ้ายังสูงกว่าระดับนี้ก็แสดงว่า  ลำไส้เล็กและไตไม่ค่อยดูดซึมสารอาหารละลายน้ำ เท่าที่ควรเพราะถูกคราบน้ำมันพืชปิดกั้น  เหตุที่ยาเสตียรอยด์ ใช้ได้ผลดีก็เพราะเป็นอนุพันธ์ของ Sterol ester  ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มไขมัน (Lipid) จึงดูดซึมได้
5. ปวดหลัง ปวดเอว ผื่นคันบริเวณหน้าท้องน้อยและหลังท้องน้อยรอบๆ เอว
อาการปวดหลังปวดเอวเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก แต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นการปวดกล้ามเนื้อ จากการทำงาน  ซึ่งมักหาย ได้เอง ๓-๗ วันหลังจากการหยุดพักงาน หรือ ทายาแก้้ปวดเมื่อย สำหรับการปวดหลังปวดเอว ที่เกิดจาก โรคไต  มักมีสาเหตุมาจากนิ่วในไตหรือในท่อไต อาการปวดจากการอุดตันท่อไต หรือไตเป็นถุงน้ำโป่งพอง โดยลักษณะการปวดจะเป็นดังนี้ คือ จะปวดบั้นเอว หรือชายโครงด้านหลัง และมักมีปวดร้าว ไปที่ท้องน้อย ขาอ่อน และอวัยวะเพศ อาการปวดมักเป็นไปข้างใดข้างหนึ่ง อาการผิดปกติที่มักพบร่วมกัน คือ ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่นขาว อาจมีปัสสาวะกระปริดกระปรอย หรือ มีอาการปวดหัวเหน่าร่วมด้วย  ในบางรายอาจคลำพบปุ่มนูนที่หลัง
บริเวณเอว และบางครั้งมีอาการผื่นคัน ที่ไม่ใช่เชื้อรา หรือสกปรก
6. ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเป็นอาการสำคัญของโรคไตเรื้อรัง  โดยเฉพาะรายที่มีอาการความดันโลหิตสูง มานานและควบคุมไม่ได้ โรคไตที่หมอมักนึกถึงคือ โรคไตเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแดงไตตีบ เนื่องจากความดันโลหิตสูงโดยตัวของมันเองอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดหัว มึนงง เป็นต้น ดังนั้นท่านควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

เมื่อท่านมีอาการดังกล่าวข้างต้น ท่านควรจะระมัดระวังอาหารทอด อาหารผัด อย่างเคร่งครัด และลดการกินอาหารโปรตีนจากสัตว์ เพราะน้ำมัน+โปรตีนจะทำให้ คอเลสเตอรอลสูงขึ้น น้ำมันที่มีพิษ (สารเคมีปน) เมื่อรวมกับโปรตีนจากสัตว์ที่มีเคมีปน จะทำให้ป่วยเป็นโรคร้ายต่างๆ ได้เพราะ ไต และลำไส้เล็กไม่ดูดซึมสารอาหารที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิต้านทานได้เหมือนแต่ก่อนแล้ว

คำแนะนำในการดูแลตนเองเรื่องอาหารนับว่าสำคัญที่สุด ผู้ใดสนใจสูตรอาหาร+เครื่องดื่มเป็นยา
สามารถอ่านได้จากการลงทะเบียน (ฟรี) ใน guestbook หลังจากที่ท่าน sign-in แล้ว
จะปรากฎบทความชื่อ "อาหาร+เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ" และบทความอื่นๆ อีกมากที่จัดไว้ให้เฉพาะสมาชิก

อาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวจะค่อยๆ เยียวการรักษาให้ท่านหายจากโรคไต หรือ อย่างน้อย ก็ช่วยชะลอการเสื่อมจากโรคไต โดยไม่ต้องงดยาแผนปัจจุบันที่ท่านอาจจะใช้อยู่
บันทึกการเข้า

บางทีสิ่งที่เราได้มาอาจจะไม่ดีที่สุด แต่ถ้ามันดีและเหมาะสมสำหรับเรา นั่นก็คงเพียงพอแล้ว
Osaoka
Full Member
***

like: 21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1154



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2012, 07:56:18 pm »

เพิ่มเติมคับ





        ปัญหาไตเสื่อมนั้นมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากอาการไตอักเสบ หรือการเป็นนิ่วในไต ที่ทำให้ไตมีการเสื่อมลง ปัจจัยทางอาหารและสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะไตเสื่อมได้ เช่น การได้รับสารพิษ การกินอาหารเค็มจัด หรือการได้รับอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป เป็นระยะเวลานาน จนทำให้ไตทำงานหนักติดต่อกันตลอดเพื่อขับของเสียต่างๆ ออกจากร่างกาย นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากจากโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคไตแทรกซ้อน เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง และถึงแม้ว่าไตเรื้อรังจะรักษาไม่หาย แต่สามารถป้องกันได้หรือชะลอดไม่ให้เนื้อที่ไตที่เหลืออยู่เสื่อมสภาพลงไปอีกได้ แต่เป็นที่น่าสนใจว่าผู้ป่วยโรคไตบางคนละเลยการรักษาจนทำให้ไตวายอย่างรวดเร็วจนเสียชีวิต

      รู้จักช่วยกันป้องกันไม่ให้ไตเสียมากขึ้น

      การกินอาหารให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ไตที่เหลืออยู่มีความสามารถในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการชะลอไม่ให้เนื้อไตถูกทำลายมากขึ้นจนเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้าย

      อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์และถั่วต่างๆ เป็นกลุ่มอาหารที่คนเป็นโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดต้องกิน ลดลง เพราะเมื่อกินโปรตีนเข้าไปแล้ว ร่างกายจะเผลาผลาญให้เป็นหน่วยย่อยๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แล้วจะเหลือสารประกอบสุดท้ายที่เป็นของเสีย จำพวกยูเรีย ครีอะตินีน ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องขับออกโดยไต การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนจึงทำให้ไตต้องทำงานหนักและเกิดการเสื่อมสภาพมากขึ้นได้ง่าย

      โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรรับประทานโปรตีนประมาณ 3 ใน 4 ของคนปกติ เช่น ถ้าปกติรับประทานเนื้อสัตว์วันละ 8-10 ช้อนโต๊ะ เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังต้องรับประทานลดลงเหลือประมาณ 6-7 ช้อนโต๊ะ หรืออาจจะต้องน้อยกว่านี้ถ้าไตมีการเสื่อมสภาพมากขึ้น การไปพบแพทย์และเจาะเลือดตรวจเป็นระยะๆ จะเป็นตัวช่วยบอกว่าควรจะรับประทานอาหารโปรตีนมากหรือน้อยเพียงใด นอกจากโปรตีนแล้วคนเป็นโรคไตเรื้อรังต้องระวังไม่กินอาหารที่มีโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสสูง 

       อาหารที่มีโพแทสเซียมสูงที่ควรระวัง ได้แก่    

     ถั่วเมล็ดแห้ง โดยเฉพาะถั่วดำและถั่วปากอ้า
     ผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลืองเข้ม เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี่ ดอกกะหล่ำ ใบคะน้า ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ แครอท (ผักที่มีโพแทสเซียมสูงไม่มากและรับประทานได้ เช่น แตงกวา น้ำ.   เต้า บวบ ฟักเขียว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักกาด)
     ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น ส้ม กล้วย ทุเรียน มะม่วงสุก ขนุน มะขามหวานและผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน

        อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ที่ควรระวัง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง นมสด เนยแข็ง เมล็ดพืช ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น

        อาหารที่มีโซเดียมสูง ที่ควรระวัง ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็มจากการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสหอยนางรม น้ำบูดู ซุปก้อน ผงปรุงรสต่างๆ

      อย่างไรก็ตามผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด และหากเจ็บป่วยไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลเสียต่อไตโดยตรงทำให้ไตเสื่อมยิ่ง
บันทึกการเข้า

บางทีสิ่งที่เราได้มาอาจจะไม่ดีที่สุด แต่ถ้ามันดีและเหมาะสมสำหรับเรา นั่นก็คงเพียงพอแล้ว
ด่อนวังจันทร์2024
Jr. Member
**

like: 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 507


ทำทุกๆวันให้เป็นวันที่ดีที่สุด


« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2012, 09:43:53 am »

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ต้องระวังเรื่องการกินสักหน่อย  good  good goodสาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ like
บันทึกการเข้า
Tee_Kb
Global Mod
Hero Member
*

like: 107
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14140



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2012, 11:14:40 am »

ขอบคุณคับ like like
บันทึกการเข้า

มีปาพาไปหามิตร....มิตรภาพดีๆหาได้ที่นี่
www.Pajerosport-thailand.com
POPPY
Jr. Member
**

like: 10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 667



« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2012, 10:18:28 am »

 like like like
บันทึกการเข้า

ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง