Languages

## ระบบฉีดเชื้อเพลิง MPI ของเครื่องยนต์ MITSUBISHI ##

(1/4) > >>

naruto:
ระบบฉีดเชื้อเพลิง MPI ของเครื่องยนต์ MITSUBISHI

MPI ย่อมาจาก MULTI-POINT INJECTION

ระบบฉีดเชื้อเพลิง MPI ของเครื่องยนต์ MITSUBISHI จะประกอบไปด้วยระบบหลัก 3 ระบบ คือ

ระบบ เชื้อเพลิง
ระบบ ประจุอากาศ
ระบบ ควบคุมอิเล็คทรอนิคส์

ทั้ง 3 ระบบที่ว่ามานี้จะต้องทำงานร่วมกันได้อย่างดี จึงจะทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง

ระบบเชื้อเพลิง

ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง
ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง ของระบบ MPI นี้ จะเป็นแบบที่ติดตั้งอยู่ในถังหรือเรียกง่ายๆว่า ‘’ปั้มจุ่ม”

โดยการทำงานของปั้มน้ำมันจะถูกควบคุมโดย ECU (Engine Control Unit) แรงดันน้ำมันที่

ใช้ในระบบMPIนี้จะอยู่ที่4.5-6 กก/ซม. หรือประมาณ 47 PSI ซึ่งถือว่ามากเอาการอยู่เหมือนกัน

นอกจากนี้ก็ยังมีควบคุมความดัน(PRESSURE REGULATOR) ทำหน้าที่จัดการเรื่องน้ำมันให้ไหลกลับไปยังถังได้มากหรือน้อยตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ เจ้าตัวนี้จะติดอยู่ที่ท่อจ่ายน้ำมัน

ของหัวฉีด

หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ INJECTOR หัวฉีดของ MPI นี้จะมีนวนเท่ากับสูบเครื่องยนต์คือ
4 สูบก็มี 4 หัว ทำหน้าที่คอยจ่ายน้ำมันให้กับเครื่องยนต์ ที่ทางเข้าของหัวฉีดก็จะมีกรองละเอียดติดตั้งอยู่ด้วย เพื่อกรองเอาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาออกไป หัวฉีดของ MPI นั้นจะติดตั้งอยู่ที่ท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์ ซึ่งการที่หัวฉีดจะทำการฉีดน้ำมันได้นั้น มันจะต้องอาศัยการสั่งงานจาก ECU มันไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง

เซ็นเซอร์ต่างๆ ของ MPI

ระบบMPI ของรถยนต์มิตซูบิชินั้นจะมีระบบการทำงานของอุปกรณ์ทางด้านอิเล็คทรอนิคส์ซึ่งเราแบ่งออกได้เป็นส่วนๆ คือ

ECU (Electronics Control Unit)
สัญญาณที่ส่งเข้าหา ECU หรือ INPUT
สัญญาณที่ส่งออกจาก ECU หรือ OUTPUT
ทั้ง 3 ส่วนของระบบ MPI ที่ว่ามานี้มันมีความสำคัญค่อนข้างมากทุกตัว ทีนี้ที่คนสนใจกันมาก

หน่อยก็คือสัญญาณที่ส่งเข้า ECU ลองมาดูกันให้ลึกลงไปอีกหน่อยดีกว่าว่ามันสำคัญอย่างไร

สัญญาณส่งเข้า ECI หรือเป็นสิ่งที่หลายๆ คนมักจะเรียกมันว่า “SENSOR” นั่นเอง ซึ่งเจ้าเซ็นเซอร์นี้มีมากมายหลายตัวด้วยกันในระบบ MPI เซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณเข้า ECU นั้นจะมีอยู่ 2

ลักษณะ คือ VOLTAGE และ VOLTAGE PULSE

ตัวตรวจจับปริมาณอากาศ หรือ AIR FLOW SENSOR

อุปกรณ์ตัวนี้ จะเป็นตัวที่บอกให้ ECU ได้รู้ว่าอากาศที่ถูกดูดเข้ามาในห้องเผาไหม้มีมากน้อย

เพียงใด เพื่อที่ว่าจะได้มีการจัดสรรปริมาณของน้ำมันเชื้อเพริงให้เหมาะสมกับปริมาณอากาศเพื่อประ

สิทธิภาพในการทำงานของรถยนต์นั่นเอง ตัวตรวจจับปริมาณอากาศแบบนี้เขาเรียกว่าเป็นแบบคามานเวอร์เทค (KARMAN VORTEX) ซึ่งจะไม่เหมือนกับชาวบ้านชาวช่องเขาหรอก เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้

จะอยู่ภายในกรองอากาศเลย ถ้าหากเจ้าตัวนี้เสียขึ้นมา มันจะทำให้รถกินน้ำมันแหลกราญเลย อีกทั้ง

ยังเดินเบาตกเอามากๆ เลย

ตัวตรวจจับการน๊อคของเครื่องยนต์ หรือ KNOCK SENSOR หรือ DETONATION SENSOR

อุปกรณ์ตัวนี้คนส่วนมากจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับมันเท่าไร เพราะการทำงานของมันนั้น จะ

ทำหน้าที่ในการตรวจจับดูว่ามีการน๊อคของเครื่องยนต์เกอดขึ้นหรือไม่ ก็เพื่อที่จะส่งสัญญาณไปยัง ECU เพื่อเอาไปควบคุมไฟจุดระเบิดให้แก่หรืออ่อนตามสมควรแก่กรณีของการขับขี่ ตัดปัญหาการ

ปรับตั้งไฟ

ตัวตรวจจับแรงดันบรรยากาศ (BAROMATRIC PRESSURE SENSOR)

เจ้าตัวนี้ก็จะไม่ค่อยคุ้นชื่อมันนัก แต่มีประโยชน์มาก มันเป็นตัวตรวจสอบดูว่าสภาพความกดดันของบรรยากาศในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานเป็นอย่างไรสูงหรือต่ำ เพราะจะเป็นตัวบ่งบอกถึง

ความหนาแน่นของอากาศนั่นเอง เพราะถ้าท่านขับรถขึ้นไปบนยอดเขาสูงๆ ความหนาแน่นของ

อากาศจะน้อย อุปกรณ์ตัวนี้แหละจะแจ้งให้ ECU รู้ และแก้ไขส่วนผสมให้เหมาะสมกับสภาพความ

เป็นจริงได้ อุปกรณ์ตัวนี้จะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ AIR FLOW SENSOR เพราะตมันจะติดตั่งอยู่บน

ตัว AIR FLOW SENSOR

ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น(COOLANT TEMPERATURE SENSOR)

อุปกรณ์นี้ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อบอกให้ ECU ได้รู้ว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์เป็นอย่างไร สูงหรือต่ำ เพื่อที่ ECU จะได้ทำการชดเชยหรือทำการเพิ่มปริมาณของน้ำมันให้เหมาะสมกับการบริโภคของเครื่งยนต์ไม่ว่าจะอุณหภูมิสูงหรือต่ำเพื่อให้ติดง่ายๆ นั้นเอง

อุปกรณ์ตัวนี้เป็นคนละตัวกันกับตัวอุณหภูมิที่แสดงบนหน้าปัทม์ของรถ ถ้าอุปกรณ์ตัวนี้เสียขึ้นมา

จะทำให้รถบริโภคน้ำมันมากกว่าปกติประมาณ1เท่าตัว สตาร์ทก็ติดยาก ควันดำ

ตัวตรวจจับอ๊อกซิเจน หรือ OXYGEN SENSOR

ตัวตรวจจับอ๊อกซิเจนนี้จะเป็นตัวที่มีบทบาทในการควบคุมมลพิษจากรถยนต์โดยมันจะทำ

หน้าที่ในการตรวจจับก๊าวอ๊อกซิเจนที่ปนออกมามากหรือน้อย เพื่อนำเอาข้อมูลที่ได้ส่งไปยัง ECU

เพื่อที่ ECU จะได้จัดการปรับแก้ไขส่วนผสมให้อยู่ในอัตราส่วนที่ถูกต้องและเหมาะสมตลอดเวลา

ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆที่ได้มีการติดตั่งเครื่องกรองไอเสีย(CATALYTIC CONVERTER) มีความจำเป็น

อย่างมากที่จะต้องมีตัวตรวจจับอ๊อกซิเจน เพื่อที่จะได้ควบคุมส่วนผสมให้อยู่ในอัตราที่ถูกต้องตลอดเวลา เพื่อให้แคตตาไลติคทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่ถ้าไม่มีอะไรเป็นตัวบอกส่วนผสมของ

เชื้อเพลิงที่ฉีดออกไป เช่น ถ้าส่วนผสมของมันหนาเกินไป จะส่งผลให้เครื่องกรองไอเสียของรถอุดตัน

อายุการใช้งานของกรองจะสั้นลง

ตัวตรวจจับตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อ(THROTTLE POSITION SENSOR)

อุปกรณ์ตัวนี้จะติดตั้งอยู่ที่เรือนของลิ้นเร่งเพื่อบอกตำแหน่งของลิ้นเร่งให้ ECU ได้รู้ว่าขณะนี้

อยู่ที่ตำแหน่งเดินเบาหรือตำแหน่งเร่ง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเครื่อง

ยนต์ให้เหมาะสมตามสภาพการใช้งาน ถ้าเกิดเสียหรือมีปัญหาจะทำให้จ่ายเชื้อเพลิไม่เหมาะสมกับ

สภาพการทำงานของเครื่องยนต์ นอกจากนี้แล้ว ECU จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการควบคุมการตัด

น้ำมันเชื้อเพลิงในขณะที่ถอนคันเร่งอีกด้วย อุปกรณ์ตัวนี้จะไม่ค่อยปรับบ่อยๆกันหรอก

ตัวตรวจจับองศาเพลาข้อเหวี่ยง หรือ(CRANK ANGLE SENSOR)

ในบรรดาเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ใช้ในระบบ MPI นั้นทุกๆตัวจะมีความสำคัญกันทุกตัวแต่ละตัว

จะมีหน้าที่ของใครของมัน แต่มีอยู่ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญค่อนข้างมากกว่าตัวอื่น เพราะถ้าไม่มี

สัญญาณจากเซ็นเซอร์ตัวนี้เข้ามา เครื่องยนต์จะดับทันที เนื่องจากจะไม่มีการทำงานของปั้มน้ำมัน

เชื้อเพลิง ไม่มีไฟจุดระเบิดออกจากคอยล์ ไม่มีการฉีดน้ำมันของหัวฉีด อุปกรณ์ที่ว่าก็คือ ตัวตรวจจับ

องศาเพลาข้อเหวี่ยง ในระบบ MPI นั้น ติดตั้งบริเวณด้านท้ายของฝาสูบสำหรับเครื่อง 4 G – 63

และอยู่ในจานจ่ายสำหรับเครื่อง 4 G – 92 และ 4 G – 93 ปลายด้านหนึ่งของตัวตรวจจับมุมเพลาข้อเหวี่ยงจะสวมอยู่กับเพลาลูกเบี้ยว และเมื่อเพลาลูกเบี้ยวหมุนก็จะทำให้มันหมุนและส่งสัญญาณเข้าไปยัง ECU ได้

ทั้งหมดของเซ็นเซอร์ในระบบ MPI ที่ส่งสัญญาณเซ็นเซอร์ที่เป็น INPUT เข้า ECU ส่วน ECU

จะเอาเซ็นเซอร์ต่างๆที่รับเข้ามาทำการประมวลผลและส่งออกมาในรูปของ OUTPUT ซึ่งจะเอาไป

ควบคุมการทำงานของหัวฉีด การทำงานของมอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบา ระบบจุดระเบิด การทำงาน

ของรีเลย์ MPI และอื่นๆอีกมากมาย

ระบบจุดระเบิด(IGNITION SYSTEM)

ระบบจุดระเบิดของระบบ MPI นั้นจะไม่ค่อยเหมือนกับใคร เนื่องจากมันเป็นระบบจุดระเบิด

แบบ MULTI-STRIKE หรือ DOUBLE-END หมายความว่ารถยนต์จะมีคอยล์ 2 ตัว เพื่อใช้ในการจุด

ระเบิด (สำหรับเครื่อง 4 G-63) นั้นคือ คอยล์ 1 ตัวจะทำการจุดระเบิด 2 สูบ ที่เหลืออีก 2 สูบ คอยล์

อีกตัวก็จะทำการจุดระเบิด

ข้อมูลมาจาก หนังสือนิตยสารรถ ยานยนต์

TONGSOOK:
ขอบคุณมากหลาย  ความรู้มากมาย ระดับวิศวกรยานยนต์สมัยใหม่จริงๆ  ไม่ทราบว่า เครื่องยนต์สมัยนี้ยังมี  นมหนู ขาไก่ กล้องยาสูบ ปีกผีเสื้อ ตีนผี หัวนกกระจอก ทองขาว เหลืออยู่หรือไม่ครับ
สมัยก่อนกลัวรถหาย ถอดหัวนกกระจอกไปเที่ยวด้วย ขากลับทำหัวนกกระจอกหล่นหาย ฮ่า ฮ่า ฮ่า .....

seto16(เอก):
ขอบคุณมากๆครับ

kanapot:
ขอบคุณมากครับ ข้อมูลสุดๆ ครับ ได้ความรู้อีกแย้วครับ

NonReturneR No.412:
ขอบคุณครับผม  like

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป