Languages
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้ดีดี เกี่ยวกับรถใช้แก๊ส LPG และการคำนวณอัตราสิ้นเปลืองที่ถูกต้อง  (อ่าน 6269 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
@ เอ เด็กเมืองชล2.4 @ PajeroSport No.2522
Jr. Member
**

like: 44
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 842


เด็กเมืองชล E85 TAP ATD E27AIY


เว็บไซต์
« เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2013, 04:32:21 am »

รถใช้แก๊ส LPG กินเท่าไหร่?ต่อลิตรกินกว่าเบนซิน 20%!...ทำไม?
รถใช้แก๊ส LPG กินเท่าไหร่?
ต่อลิตรกินกว่าเบนซิน 20%!...ทำไม?


หลาย คนเข้าใจผิดว่า...รถที่ติดแก๊สแอลพีจี ต้องกินแก๊สกิโลเมตรละ 1 บาท ไม่ว่าจะเป็นรถอะไร หรือเครื่องยนต์ใหญ่แค่ไหน ซีซีมากเท่าไรก็ตาม หลายคนเข้าใจว่ากิโลเมตรต่อลิตรเมื่อใช้แก๊ส ต้องพอๆ กับตอนใช้น้ำมันเบนซิน ในความเป็นจริง ทั้งทฤษฎีและใช้งานจริง ระยะทางต่อลิตรเมื่อใช้แก๊สจะสั้นลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ จากตอนใช้น้ำมันเบนซิน...ทำไมต้องลด 20 เปอร์เซ็นต์?




กินแก๊ส...กิโลเมตรละกี่บาท ไม่นิยมคำนวณเป็นกิโลเมตรต่อลิตร
อัตรา ความสิ้นเปลืองของรถใช้แก๊ส มีความแปลกสารพัด...ตั้งแต่หน่วยการคำนวณ ผู้คนมักชอบคิดเป็นกิโลเมตรละกี่บาท (ทั้งที่ตอนใช้น้ำมันเบนซิน มักคำนวณเป็นกิโลเมตรต่อลิตร) น่าแปลกที่หลายคนเน้นจะให้ช่างจูนให้จ่ายแก๊สประหยัดสุดๆ โดยไม่เข้าใจว่าจะเป็นการบีบบังคับเครื่องยนต์หรือไม่ หรือเมื่อแต่ละถัง กินแก๊สต่างกัน ก็พยายามหาปัญหาหรือรีบจูนใหม่ ทั้งที่ตอนใช้น้ำมันเบนซินในทุกถัง เมื่อกินต่างกันก็เฉยๆ

อีกความ แปลกที่สำคัญ คือ หลายคนเก่งคณิตศาสตร์ขึ้นมาทันทีเมื่อใช้แก๊ส จดเก็บตัวเลขและคิดคำนวณอัตราการกินแก๊สละเอียดยิบ ทั้งที่ตอนใช้น้ำมันเบนซินซึ่งแพงกว่า 2-3 เท่าตัว กลับแทบไม่เคยจดหรือคำนวณเลย

แก๊สแอลพีจี เป็นอีกพลังงานที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลานี้ แต่ในด้านความสิ้นเปลือง กลับมีหลายความแปลกที่หลายคนเป็นไปโดยไม่ตั้งใจ หรือบางคนตั้งใจ !... ความแปลกกับการคำนวณความสิ้นเปลืองเป็น...กิโลเมตรละกี่บาท ไม่ค่อยนิยมหน่วยกิโลเมตรต่อลิตรแบบตอนใช้น้ำมันเบนซิน ทั้งที่ทราบดีว่าราคาแก๊สเป็นบาทต่อลิตร ในแต่ละปั๊มและแต่ละวันมีความต่างกัน

มาตรฐานโลกกับการวัดความสิ้น เปลืองเชื้อเพลิงใดๆ ต้องวัดเป็นระยะทางเทียบกับปริมาตรและน้ำหนัก เช่น กี่กิโลเมตรต่อลิตร หรือกี่ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือต่อกิโลกรัม (ในกรณีของเอ็นจีวี) เพราะราคาเชื้อเพลิงแต่ละวัน และแต่ละปั๊มแตกต่างกัน

แต่ คนใช้รถติดแก๊ส มักคิดคำนวณเป็นกิโลเมตรละกี่บาท (สั้นๆ ว่า กิโลละกี่บาท) ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะจริงๆ แล้วต้องอิงอัตรา กี่กิโลเมตรต่อลิตรหรือต่อกิโลกรัม หากอยากทราบเป็นกิโลเมตรละกี่บาท ก็ต้องนำราคาต่อลิตรมาร่วมคำนวณอีกครั้งหนึ่ง

อยากให้กินน้อยๆ
ความ แปลกที่พยายามจะบีบคั้นเครื่องยนต์หรือช่างให้จูนให้กินแก๊สน้อยๆ ตามตั้งใจ ทั้งที่ตอนใช้น้ำมันเบนซิน กินเท่าไรก็ยอมรับ โดยมองข้ามไปว่า เครื่องยนต์มีความคล้ายคน คือ จะมีความต้องการกินอาหารหรือเชื้อเพลิงตามขนาดร่างกาย คนตัวโตก็ต้องกินอาหารมากกว่าคนตัวเล็ก และไม่ว่าใครถ้าเค้นให้วิ่งเร็วๆ ก็ต้องกินมากกว่าเดิน

เครื่องยนต์ถูกออกแบบมาจากโรงงาน ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไร น้ำมันหรือแก๊ส ก็จะมีจุดที่พอดีๆ กินน้อยไปหรือจ่ายบาง ก็ไม่มีแรงหรือร้อน กินมากหรือจ่ายหนา ก็ท่วมหรือสิ้นเปลืองโดยไม่ได้กำลังเพิ่ม เราจูนเชื้อเพลิงหนา-บางได้ตามใจ แต่ผลที่ได้ไม่มีทางดีเท่า... จูนให้จ่ายเชื้อเพลิงเข้าไปพอดีๆ

หลาย คนเข้าใจผิดอย่างมากว่า เมื่อไรรถใช้แก๊สจะต้องกินแก๊สกิโลเมตรละ 1 บาท ไม่ว่าจะเป็นรถรุ่นใด หรือเครื่องยนต์ใหญ่เล็กก็ตาม โดยแกล้งลืมหรือไม่เข้าใจว่า รถแต่ละรุ่น เดิมๆ เมื่อใช้น้ำมันก็กินต่างกัน ตามขนาด, น้ำหนัก และเครื่องยนต์

นอก จากนั้นมักจะฟังใครมาลอยๆ ว่ารถรุ่นของตนควรกินแก๊สกิโลเมตรละกี่บาท หากหลังติดตั้งแก๊ส รถของตนไม่เป็นไปตามนั้น ก็จะเน้นให้ช่างจูนให้ หรือถ้าจูนได้เอง จะบีบเค้นเครื่องยนต์ให้กินน้อยๆ โดยไม่ได้นึกโยงไปว่า เดิมๆ รถรุ่นเดียวกัน ต่างสภาพ ต่างผู้ขับ ต่างเส้นทาง ในตอนใช้น้ำมันเบนซินก็กินน้ำมันต่างกันได้หลายสิบเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อใช้แก๊สแล้ว เมื่อไรได้ยินตัวเลขสุดประหยัดจากรถรุ่นเดียวกัน

นอก จากจะไม่สนใจว่าจริงหรือไม่ หรือมีตัวแปรในการใช้งานอย่างไร ก็จะหวังว่ารถของตนเองจะต้องกินแก๊สตามนั้น ทั้งที่เครื่องยนต์อาจโทรมกว่า สภาพการจราจรติดขัดกว่า หรือขับกระชากกระชั้นกว่า...หลายคนตั้งเป้าความประหยัดว่า ต้องกินแก๊สกิโลเมตรละกี่บาท โดยไม่ทราบหรือไม่สนใจว่า ถ้าจ่ายเชื้อเพลิงบางไป เครื่องยนต์จะโทรมหรือร้อน แม้แต่การใช้เบนซินก็ตาม โดยตอนที่ใช้น้ำมันเบนซิน แล้วกินต่างจากรถรุ่นเดียวกันคันอื่น ก็ไม่เห็นจะดิ้นรนหาวิธีลดการจ่ายน้ำมันเลย

ทั้งที่เข้าใจว่า รถต่างคันต่างสภาพกัน คนขับต่างสไตล์ และต่างเส้นทาง รวมถึงสภาพการจราจร ย่อมกินน้ำมันต่างกัน แต่พอใช้แก๊ส เมื่อรถตนเองกินมากกว่ารถร่วมรุ่น กลับแกล้งไม่เข้าใจว่า รถรุ่นเดียวกันย่อมกินต่างกันได้ ถ้ามีหลายอย่างข้างต้นแตกต่างกัน... ความแปลกในความคิดของผู้ใช้เชื้อเพลิงแก๊สอีกอย่าง คือ เมื่อแก๊สแต่ละถัง กินต่างกันบ้าง เจ้าของรถก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ คิดว่าต้องผิดปกติ หรือรีบให้ช่างจูนใหม่

แก๊ส...สร้างนักบัญชีได้
บางครั้งหรือ หลายคนไม่ได้จดหรือคำนวณความสิ้นเปลืองเมื่อใช้น้ำมันเบนซิน แต่พอใช้แก๊ส กลับกลายเป็นคนละเอียดขึ้นมาทันที จดระยะทางและคำนวณทุกครั้งที่เติมแก๊ส เมื่อใดได้ระยะทางต่อลิตรอย่างประหยัดที่สุด จะด้วยสภาพการจราจร การขับแผ่วๆ หรือปั๊มแก๊สนั้นแรงดันอ่อน อัดเข้าถังในรถได้ไม่แน่นสุดๆ ก็จะจดจำความสิ้นเปลืองนั้น ว่าประหยัดดี แล้วก็มักจะยกและตั้งตัวเลขนั้นไว้ว่า ครั้งอื่นๆ ต้องประหยัดเท่านี้ ถ้ากินกว่าเมื่อไร คิดไปเองว่าระบบแก๊สผิดปกติต้องจูน ทั้งที่จริงๆ แล้วต้องหาค่ากลางๆ ไว้ และยอมรับเมื่อกินมากกินน้อยกว่าค่านั้นบ้าง

ใช้แก๊ส แอลพีจี ควรกินเท่าไร กี่กิโลเมตรต่อลิตร?...เน้นว่า แอลพีจี ไม่ใช่เอ็นจีวี
สั้นๆ คือ เคยกินน้ำมันเบนซินกี่กิโลเมตรต่อลิตร คูณ 0.8 เข้าไป นั่นคือกิโลเมตรต่อลิตรเมื่อใช้แก๊สต่อเชื้อเพลิง 1 ลิตร เมื่อใช้แก๊สจะสั้นลง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับตอนใช้น้ำมันเบนซิน หรือคูณ 0.8 เข้าไปกับตัวเลขกิโลเมตรต่อลิตรตอนใช้น้ำมันเบนซิน

แต่ บางคนยกค่าการกินน้ำมันที่ประหยัดที่สุด หรือถึงขั้นโกหกมาใช้คำนวณ เช่น รถคันโต เมื่อจะคำนวณการกินแก๊สตามที่ควรจะเป็น กลับเริ่มต้นบอกว่ารถตนเองกินน้ำมันเบนซิน 10 กว่ากิโลเมตรต่อลิตร จะเป็นการโกหก หรือเดิมไม่เคยจับความสิ้นเปลืองอย่างจริงจังก็แล้วแต่ ตั้งใจตอบตัวเลข 10 กิโลเมตรต่อลิตร โดยหวังให้ช่างจูนให้กินแก๊ส 8 กิโลเมตรต่อลิตร (10 คูณ 0. ทั้งที่รถรุ่นนั้นไม่มีใครในโลกขับในเมืองได้เกิน 8 กิโลเมตรต่อลิตร ก็ไม่เข้าใจว่าจะโกหกตนเองไปทำไม

เน้นว่า...ต้องใช้ตัวเลขกิโลเมตรต่อลิตรตอนใช้น้ำมัน ที่เป็นค่าจริง !

กิโลเมตรต่อลิตรน้ำมัน คูณ 0.8 = กิโลเมตรต่อลิตรแก๊ส
เช่น เดิมใช้น้ำมันทำได้ 7.5 กิโลเมตรต่อลิตร เมื่อคูณ 0.8 ก็ควรจะกินแก๊สแอลพีจีประมาณ 6.0 กิโลเมตรต่อลิตร เมื่อได้ตัวเลขจากการคำนวณแล้ว หากเก็บสถิติจริงแล้วพบว่า ช่างก็จูนให้รถวิ่งได้ดี แต่กินแก๊สมากกว่าที่คำนวณไว้สัก 0.5-1 กิโลเมตรต่อลิตร หรือระยะทางหดลงเกิน 20 เปอร์เซ็นต์เล็กน้อย ก็ไม่ต้องกินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะอาจเกิดขึ้นจากความโทรมของเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันได้ หรืออาจเกิดขึ้นเพราะสภาพการจราจรกับลักษณะการขับที่แตกต่างกันในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์

ส่วนอู่ใดหรือใคร ทำให้รถคุณกินแก๊สเป็นกิโลเมตรต่อลิตรที่เท่ากับน้ำมันเบนซิน หากคุณแน่ใจว่าไม่ได้ขับแผ่วลง การจราจรไม่โล่งขึ้น นั่นคือ จูนบางแน่ๆ จ่ายแก๊สบางไป จนเสี่ยงต่อความโทรมของเครื่องยนต์

เพราะถ้าจ่าย แก๊สได้พอดีๆ ไม่มีทางที่ระยะทางต่อลิตรแก๊สจะสั้นลงน้อยๆ แค่ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ยังไงก็ต้องป้วนเปี้ยนแถวๆ 15-25 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือ ต่อ 1 ลิตรแก๊สจะสั้นลงกว่าตอนใช้น้ำมัน 20 เปอร์เซ็นต์ (ถ้า 14 16 17 19 21 24 25 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่ต้องเครียดว่าผิดปกติ) อนุโลมให้ตัวเลขดิ้นได้บ้าง เหมือนตอนใช้น้ำมันเบนซินล้วนๆ ที่แต่ละถังไม่เคยกินเท่ากันเป๊ะเลย

ทำไมต้องคูณ 0.8 จากกิโลเมตรต่อลิตรน้ำมัน ?
ตัว เลขนี้ไม่เลื่อนลอย เพราะมาจากวิชาการ A/F AIR/FUEL RATIO, น้ำหนักต่อปริมาตรของแต่ละเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน รวมทั้งได้มาจากการเก็บสถิติในการใช้งานจริงกับรถหลายคัน และไม่ได้เป็นค่าที่เกิดเฉพาะในไทย จริงๆ แล้วเรื่องนี้เข้าใจยาก แต่ถ้าตั้งใจอ่านบทความนี้ จะเข้าลึกถึงเหตุผลที่แท้จริง

เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ 2 เรื่องย่อย คือ

- 1. น้ำหนักต่อลิตรของน้ำมันเบนซินกับแก๊ส ซึ่งแก๊สเบากว่า
- 2. อัตราส่วนผสมที่พอดีๆ ระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันของน้ำมันเบนซินกับแก๊ส

1. น้ำหนักต่อลิตรของน้ำมันเบนซินกับแก๊ส ต่อ 1 ลิตรที่จ่ายเงินซื้อ จะได้เนื้อเชื้อเพลิง (แก๊ส) ที่เบากว่า... เครื่องยนต์เผาเชื้อเพลิงด้วยมวลหรือน้ำหนัก ไม่ใช่ซีซี หรือลิตร ซื้อน้ำมันเบนซิน 1 ลิตร มีน้ำหนักประมาณ 750 กรัม (7.5 ขีด) แต่ซื้อแก๊สแอลพีจี 1 ลิตร ได้แค่ 550 กรัม (5.5 ขีด) น้อยกว่ากันประมาณ 25-26 เปอร์เซ็นต์ (ลองเอา 750 คูณ 0.74 จะออกมาเป็น 550 โดยประมาณ) นั่นหมายความว่า ถ้าสมมุติว่ามีการจ่ายแก๊สแอลพีจีเข้าไปในเครื่องยนต์ด้วยน้ำหนัก (ไม่ใช่ซีซี) ที่หนักเท่ากับน้ำมันเบนซิน เนื้อแก๊ส 1 ลิตรจะทำระยะทางได้ลดลง 25 เปอร์เซ็นต์

แต่เรื่องยังไม่จบด้วยตัวเลขลดลง 25 เท่านี้ !!!

เนื่อง จากในการสันดาปในกระบอกสูบที่สมบูรณ์ เครื่องยนต์ไม่ได้ต้องการแก๊สเท่ากับน้ำมันเบนซิน เนื่องจากทั้ง 2 เชื้อเพลิงนี้ ทุกกรัมจะต้องการอากาศในการเผาไหม้ไม่เท่ากัน นั่นคือ A/F AIR/FUEL RATIO ที่แตกต่างกัน

2. อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกัน ถ้าจะเผาไหม้ให้พอดีๆ ระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง

น้ำมัน เบนซินกับแก๊ส...เชื้อเพลิงแต่ละชนิดหากจะเผาไหม้ให้หมดจดเหมือนๆ กัน จะต้องการหรือใช้อากาศ (ออกซิเจน) ในน้ำหนัก (อัตราส่วน) ที่แตกต่างกัน ในขณะที่หลายคนเข้าใจผิดว่า เชื้อเพลิงทุกชนิด จุดให้ลุกไหม้แล้วยังไงก็เผาได้หมด ยกตัวอย่าง สมมุติมี 2 ชนิดเชื้อเพลิงที่ตวงใส่ฝาปากเปิด วางในที่โล่ง เมื่อจุดไฟ ก็จะลุกไหม้ได้หมดเหมือนๆ กัน แต่ในความเป็นจริง ถ้าเก็บข้อมูลได้อย่างละเอียด จะพบว่าแต่ละเชื้อเพลิงจะเผาอากาศ (ออกซิเจน) รอบๆ ฝาในปริมาณ (น้ำหนัก) ที่แตกต่างกัน

ในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ ไม่ได้มีอากาศเหลือเฟือแบบภายนอก แต่มีจำกัดด้วยการบรรจุเข้าไปในช่วงจังหวะดูดและวาล์วไอดีเปิดเท่านั้น

ที่ สำคัญคือ ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงชนิดใด จะมีอากาศเข้าไปในกระบอกสูบเท่ากัน (จริงๆ แล้วต่างกันน้อยมาก) ดังนั้นถ้าจะเผาผลาญอากาศให้หมดหรือเหลือออกมาเท่ากัน ในแต่ละชนิดเชื้อเพลิงก็ต้องใส่เข้าไปในปริมาณ (น้ำหนักที่แตกต่างกัน)

ใน ทางวิศกรรมยานยนต์และเคมี มีการสรุปมานานแล้วว่า เชื้อเพลิงแต่ละชนิด ต่อ 1 กรัมจะใช้อากาศกี่กรัมในการเผาผลาญให้เชื้อเพลิงเหลือน้อย และไอพิษของไอเสียไม่มาก (หรือเรียกกว่าค่า แลมบ์ดา-LAMBDA 1) โดยจะใช้เลข 1 เป็นตัวตั้งในการแสดงอัตราส่วนที่เรียกว่า AIR / FUEL RATIO หรือย่อว่า A/F RATIO อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง หรือย่อสั้นลงไปอีกว่าค่า เอเอฟ โดยเน้นว่าอัตราส่วนนี้เป็นได้โดยน้ำหนัก ไม่ใช่ปริมาตร !

น้ำมันเบนซินล้วนๆ มีค่าเอเอฟ 14.7 ต่อ 1 นั่นคือ ต้องใช้อากาศ 14.7 กรัมในการเผาน้ำมันเบนซิน 1 กรัม ให้หมดจดเพื่อจะได้ค่าแลมบ์ดา 1 แต่ในปัจุบัน ไม่มีเบนซินล้วนๆ มักผสมสารเพิ่มค่าออกเทนไว้ เช่น MTBE ถ้าผสมแบบในไทยประมาณ 5-7 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีค่าเอเอฟประมาณ 14.5 ต่อ 1 นั่นคือ ต้องใช้อากาศ 14.5 กรัมในการเผาน้ำมันเบนซินที่ผสมเอ็มทีบีอี 1 กรัม ให้หมดจดพอจะได้ค่าแลมบ์ดา

หากน้ำมันเบนซินนั้น ไม่ผสมเอ็มทีบีอี แต่ผสมเอธานอล (เอธิลแอลกอฮอล์) 10 เปอร์เซ็นต์ (E10) จะมีค่าเอเอฟประมาณ 14.2 ต่อ 1 นั่นคือ ต้องใช้อากาศ 14.2 กรัมในการเผาน้ำมันเบนซินที่ผสมเอธานอล 10 เปอร์เซ็นต์ 1 กรัม ให้หมดจดพอจะได้ค่าแลมบ์ดา 1

หากน้ำมันเบนซินนั้น ไม่ผสมเอ็มทีบีอี แต่ผสมเอธานอล (เอธิลแอลกอฮอล์) 20 เปอร์เซ็นต์ (E20) ที่ขายในไทยมาตั้งแต่ต้นปี 2008 จะมีค่าเอเอฟประมาณ 13.6 ต่อ 1 นั่นคือ ต้องใช้อากาศ 13.6 กรัมในการเผาน้ำมันเบนซินผสมเอธานอล 20 เปอร์เซ็นต์ 1 กรัม ให้หมดจดพอจะได้ค่าแลมบ์ดา 1

แก๊สแอลพีจี มีค่าเอเอฟประมาณ 15.5-15.8 ต่อ 1 นั่นคือ ต้องใช้อากาศ 15.5-15.8 กรัมในการเผาแอลพีจี 1 กรัม ให้หมดจดพอจะได้ค่าแลมบ์ดา 1 สาเหตุที่มีค่าเอเอฟแกว่งได้แถวๆ 15.5-15.8 ไม่มีค่าเดียว เพราะแอลพีจีเป็นส่วนผสมของโพรเพน (ซี3) และบิวเทน (ซี4) ไม่มีเปอร์เซ็นต์ตายตัว แต่ก็เรียกว่าแอลพีจีแบบเหมารวม ถ้าโพรเพนมาก-น้อย ก็เผาอากาศได้มาก-น้อยแตกต่างกัน

เมื่อเทียบกับ น้ำมันเบนซินผสมเอธานอล 10 เปอร์เซ็นต์ (อี10) หรือแก๊สโซฮอล์ที่คุ้นเคย มีค่าเอเอฟ 14.2 ต่อ 1 แอลพีจีมีค่าเอเอฟ (เลือกมาแบบเปลืองสุด) 15.5 ต่อ 1 นั่นคือ เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน ในน้ำหนักเท่ากัน แอลพีจีจะใช้อากาศจำนวนมากกว่าเล็กน้อย เพื่อมาเผา หรือ ในอากาศเท่ากัน จะใช้แอลพีจีน้อยกว่าเบนซิน เพื่อเผาอากาศให้หมด

ต้องไม่ลืมว่าค่า เอเอฟนั้น ตัวเลข 1 เป็นตัวเลขของเชื้อเพลิง ส่วนตัวเลขมากกว่าที่แปรเปลี่ยนไป นั่นเป็นตัวเลขของอากาศ ซึ่งในความเป็นจริงของอากาศในกระบอกสูบนั้น ไม่มีการแปรผันไปตามชนิดของเชื้อเพลิง อากาศยังมีเท่าเดิมเสมอ นั่นคือ สมมุติง่ายๆ ว่า แก๊สโซฮอล์ อี10 หนัก 1 กรัมเผาออกซิเจนได้ 14.2 กรัม

เมื่อ เปลี่ยนไปใช้แอลพีจี ก็ต้องยึดเอาตัวเลขของอากาศ 14.2 กรัม ตั้งไว้แล้วหารด้วยค่าเอเอฟ เรโช ของแอลพีจีคือ 15.5 ต่อ 1 (นำ 14.2 กรัมตั้ง หารด้วย 15.5) นั่นคือ จะต้องใส่แอลพีจีเข้าไป 0.94 กรัม นั่นคือ น้อยกว่าตอนใช้แก๊สโซฮอล์ อี10 ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์

อย่าเพิ่งรีบ สรุปว่า เมื่อใช้แอลพีจีแทนน้ำมันเบนซิน จะต้องสิ้นเปลืองน้อยกว่า ด้วยค่าเอเอฟที่แลมบ์ดา 1 ของแอลพีจี จะจ่ายเข้าไปน้อยกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากยังต้องมีเหตุผลข้อแรก ในการซื้อน้ำมันเบนซินหรือแอลพีจีมาเกี่ยวข้องเสมอ จ่ายเงินซื้อแอลพีจีและเบนซินเป็นลิตร แต่เวลานำไปใช้เผาไหม้ เครื่องยนต์สนใจมวลของเชื้อเพลิงหรือน้ำหนักนั่นเอง

เมื่อใช้แอลพี จีแล้วจ่ายเข้าไปในเครื่องยนต์ ด้วยความบางกว่าน้ำมันเบนซินเล็กน้อยก็จริง (6 เปอร์เซ็นต์) แต่การซื้อน้ำมันเบนซิน 1 ลิตรได้น้ำหนักประมาณ 750 กรัม (7.5 ขีด) แต่ซื้อแก๊สแอลพีจีได้แค่ 550 กรัม (5.5 ขีด) ได้เบากว่ากันประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ หักลบกันแล้ว คือ จ่ายแอลพีจีเข้าไปได้บางกว่าตอนใช้น้ำมันเบนซินเล็กน้อย 6 เปอร์เซ็นต์ แต่เวลาเติมตามปั๊มมีหน่วยเป็นลิตร กลับสวนทาง โดยได้แอลพีจีเบากว่า 25 เปอร์เซ็นต์

สรุปง่ายๆ ก็คือ จ่ายเข้าเครื่องยนต์บางกว่าน้ำมันเบนซิน 6 เปอร์เซ็นต์ แต่ตอนซื้อต่อลิตรได้น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นที่มาของการสรุปว่า เมื่อใช้แอลพีจี จะได้ระยะทางต่อลิตรสั้นกว่าตอนใช้น้ำมันเบนซินประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

ในการใช้งานจริง อาจไม่ใช่ตัวเลขนี้เป๊ะ ด้วยตัวแปรอื่น เช่น การจูนการจ่ายแก๊สหนา-บาง (ตามฝีมือช่างไทย) สภาพการจราจรและลักษณะการขับที่แตกต่าง ดังนั้นจะเป็นตัวเลข 15 18 21 25 (หรืออยู่ในช่วง 15-25 ) เปอร์เซ็นต์ ก็อย่ารีบคิดว่าผิดปกติ ต้องจูนแก๊ส

โดย เน้นว่า ต้องหาตัวเลขความสิ้นเปลือง เป็นกิโลเมตรต่อลิตร เมื่อใช้น้ำมันเบนซินเมื่อล่าสุด ไม่เอาข้อมูลเก่ามากๆ เพราะสภาพเครื่องยนต์มีความโทรมลงเรื่อยๆ อีกทั้งไม่ต้องยกตัวเลขจากรถรุ่นเดียวกันในคันอื่นมาใช้ เพราะย่อมมีความแตกต่างในสารพัดอุปกรณ์ การจราจร และการขับ อีกทั้งยังต้องเป็นตัวเลขที่ไม่เอนเอียง ไม่นำตัวเลขที่ใช้น้ำมันเบนซินแล้วประหยัดที่สุดมาใช้คำนวณ

นอกจาก นั้น ยังไม่ค่อยมีใครทราบว่า เนื้อแก๊สแต่ละวัน แต่ละปั๊ม แม้แต่ปั๊มเดียวกันแต่ต่างวันในการซื้อมาจากโรงผลิตหรือกลั่น จะมีความหนาแน่นหรือหนักต่อลิตรไม่เท่ากัน หรือเรียกง่ายๆ ว่าแก๊สเบาหรือแก๊สหนัก ซึ่งจะมีผลต่อระยะทางที่ทำได้ เช่น เติม 1 ลิตร ได้แก๊สหนัก 540 กรัม ก็น่าจะทำระยะทางได้สั้นกว่า ครั้งที่เติม 1 ลิตร แล้วได้แก๊สหนัก 550 กรัม

เรื่องแก๊สหนัก-เบานี้ เป็นเรื่องจริง รออ่านใน THAIDRIVER เล่มต่อเนื่องไป โดยจะมีภาพเป็นเอกสารยืนยันชัดเจนว่า ครั้งที่ไปซื้อจากโรงงานผลิต จะได้แก๊สที่มีความหนาแน่นเท่าไรบ้าง และแต่ละวันหนัก-เบาแตกต่างกัน แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้แสดงให้ผู้ใช้รถที่เข้าไปเติมตามปั๊ม

จากการ อธิบายทุกเหตุผลข้างต้น จึงพอสรุปได้ว่า ตัวเลขระยะทางต่อลิตรที่ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้แอลพีจี ไม่เลื่อนลอยและเป็นจริง แต่จะมีช่วงแกว่งได้ด้วยหลายสภาพที่แตกต่าง จึงพออนุโลมได้ในกรอบประมาณ 10-30 เปอร์เซ็นต์ของระยะทางที่จะลดลงจาก 1 ลิตรน้ำมันเบนซิน

ส่วน รถคันใดหรืออู่ใดสามารถทำระยะทางต่อลิตรแอลพีจีได้พอๆ กับใช้น้ำมันเบนซิน หากไม่มีสภาพอะไรแตกต่าง นั่นพอสรุปได้ว่า น่าจะมีการจูนการจ่ายแก๊สบางกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้เครื่องยนต์ร้อนและแรงตก แม้แทบไม่มีทางพังในทันที แต่ร้อนกรอบอยู่ภายในเครื่องยนต์แน่ๆ ไม่ใช่เก่งแต่อย่างไร

การจูนแก๊สบางไม่ใช่เรื่องยาก แต่กฎการเผาไหม้ เรื่อง A/F RATIO ไม่มีใครหนีพ้น

เมื่อ ทราบว่า เมื่อใช้แก๊สแอลพีจีแล้ว ต่อลิตรจะทำระยะทางได้สั้นลง ก็อย่ากลัวว่าจะไม่ประหยัด เพราะราคาแก๊สลิตรละประมาณ 11 บาท แต่น้ำมันเบนซิน ลิตรละ30-33 บาท ตามตารางจะเห็นว่า โดยเฉลี่ยจะประหยัดเงินค่าเชื้อเพลิงประมาณ 58 เปอร์เซ็นต์ หรือเหลือจะต้องจ่าย 42 เปอร์เซ็นต์ (ค่านี้สามารถนำไปคำนวณหาจุดคุ้มทุนเมื่อจะติดตั้งแก๊สได้)

ถ้ากินแก๊สมากขึ้น อาจเป็นปัญหาอื่น
เมื่อ ไรที่เครื่องยนต์กินแก๊สมากผิดปกติ อย่าเพิ่งรีบโทษระบบแก๊สหรือช่างจูนแก๊ส ควรกลับไปใช้น้ำมันเบนซินหลายๆ ถัง เพื่อหาตัวเลขว่า ตอนนี้เครื่องยนต์กินน้ำมันเบนซินกี่กิโลเมตรต่อลิตรแล้ว ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งคนที่เคยใช้แก๊สส่วนใหญ่จะไม่กล้ากลับไปใช้น้ำมันเบนซินเป็นระยะทางยาวๆ เพราะน้ำมันแพง เมื่อไรที่กินแก๊สมาก ก็จะเน้นว่าต้องจูนแก๊สเท่านั้น แทบไม่คิดว่าเครื่องยนต์ก็ผิดปกติได้

นอกจากนั้น ยังมีผู้ใช้รถติดตั้งแก๊สหลายคน พยายามจะให้ช่างจูนแก๊สให้กินเท่ากับรถรุ่นเดียวกันที่ทราบข้อมูลมา โดยไม่ดูเลยว่า รถตนเองนั้น เมื่อใช้น้ำมันเบนซินมีการกินมาก จนผิดจากคันอื่นหรือไม่ บางคนจะให้วัดเป็นตัวเลขที่ชัดเจนออกมาก็ไม่ยอมทำ เพราะการทดลองขับด้วยน้ำมันเบนซินเพื่อหาตัวเลขนี้ ต้องทดลองทำกันหลายถัง มันบาดใจเวลาเติมน้ำมันลิตรละ 30 กว่าบาท จึงไม่ทดลองจัดความสิ้นเปลืองตอนใช้น้ำมันเบนซิน และคิดแต่เพียงว่าต้องจูนแก๊สบางลง หรือช่างจูนไม่ดี

คิดง่ายๆ ว่า สมมุติรถที่ใช้น้ำมันเบนซินตามปกติ รถรุ่นเดียวกัน ต่างคัน ต่างผู้ขับ ต่างเส้นทาง จะกินน้ำมันต่างกันหรือไม่ แน่นอนว่าต่าง ในรถคันเดิม เมื่อผ่านการใช้งานมาหลายหมื่นหรือเป็นแสนกิโลเมตร เป็นได้ไหมว่าที่บางอุปกรณ์ของเครื่องยนต์หรือระบบเกียร์ ผิดปกติ แล้วส่งผลให้กินน้ำมันขึ้น แน่นอนว่ามี !

นอกจากนี้ รถทุกคัน ไม่ว่าใช้เชื้อเพลิงอะไร มีไหมที่ยิ่งใช้ ยิ่งเก่า ยิ่งประหยัดขึ้น แม้รถจะมีสภาพสมบูรณ์ ดูแลดีเยี่ยม แต่ยิ่งใช้ก็มักจะกินเพิ่มขึ้นทีละนิด เมื่อใช้แก๊สก็เช่นเดียวกัน แม้สมบูรณ์ทุกอย่าง ก็ไม่มีทางที่ใช้แล้วจะประหยัดขึ้นเรื่อยๆ หรือกินเท่าเดิม คิดง่ายๆ รถยิ่งเก่าก็ยิ่งกิน (เชื้อเพลิง) เป็นธรรมดา

หากช่างจูนแก๊ส ที่มีเอ/เอฟ มิเตอร์แบบไวด์แบนด์ เสียบวัดค่าออกซิเจนในท่อไอเสีย และเข้าใจดีถึงการบริหารเชื้อเพลิง หากรถใครยังกินแก๊สผิดปกติ อยากแนะนำว่า ต้องกลับไปใช้น้ำมันเบนซินหลายๆ ถังเพื่อหาค่า หรือซ่อมรถ ไม่ใช่จูนแก๊สตะพืดตะพือ อธิบายง่ายๆ ว่า ถ้ามีอะไรผิดปกติในเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไร ก็ต้องกินมากผิดปกติ และมากกว่ารถคันอื่นในรุ่นเดียวกัน


ที่มา: เจอมาจาก Google.com ครับ มีคนเขียนเอาไว้ ผมไม่ได้เขียนเอง ขอขอบพระคุณคนเขียนมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอเอามาแบ่งปันนะครับ
บันทึกการเข้า

2.4 LPG BSM K&N Emu Sport กล่ององศาจุดระเบิด
รับติดตั้ง(TAP) ของATDโซนชลบุรี
jirayujune
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2013, 07:01:30 am »

ขอบคุณครับข้อมูลดีดี  good good good
บันทึกการเข้า
skanet
Pajero Sport 2.4GLS ID: 2718
Jr. Member
**

like: 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 494


Happiness


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2013, 08:35:20 am »

ขอบคุณ​ครับ​   ยอดเยี่ยม
บันทึกการเข้า

ขอบคุณมิตรภาพดีๆ ณ.สถานที่แห่งนี้น่ะครับ
pla & lek
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 230



« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2013, 12:53:07 pm »

ได้ความรู้มากมาย
บันทึกการเข้า

ปลา บ้านฉาง 08-60979169 ID 2319
 "มิตรภาพดีดี มีที่ปาเจโร่สปร์อต"
tepanan_not
ID 3630
Jr. Member
**

like: 22
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 897


PJS V.6 Donmuang


« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 05:31:37 am »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ไม่มีใครจนเกินกว่าจะให้คนอื่นได้
moocbr
มันอยู่ในสายเลือด ID:2378
Newbie
*

like: 6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 290



« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 02:51:38 pm »

 victory ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ victory
บันทึกการเข้า

@@@ก็รู้อยู่ว่าคนดีนะมันเป็นยาก แต่ผมก็ยังอยากเป็นคนดี@@@
@@@089-0921443 หมูครับ@@@
teddyisman
Jr. Member
**

like: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 998


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 03:29:14 pm »

ข้อมูลดีๆ เพรียบ แต่อ่านไม่จบ ตาลายไปก่อน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง