หัวข้อ: ยกเลิกการรับรถได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: desperado449 ที่ สิงหาคม 08, 2012, 05:16:38 pm พอดีผมได้จองรถไว้กับอีกยี่ห้อหนึ่ง ยื่นเอกสารเซ้นกับไฟแนนซ์และก็ผ่านเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้เซ้นต์รับรถ
ผมสามารถยกเลิกได้ไหมคัรบ (ยกเลิกจะมากินปา น่ะคัรบ..) ขอบคุณคัรบ หัวข้อ: Re: ยกเลิกการรับรถได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: @KGD ที่ สิงหาคม 08, 2012, 05:24:29 pm ได้คับตังเราจะซื้อค่ายไหนอยู่ที่เจ้าของเงินไม่มีผลบังคับเราได้
หัวข้อ: Re: ยกเลิกการรับรถได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: ชายอิสระ ที่ สิงหาคม 08, 2012, 05:27:10 pm ยกเลิกได้ 100% ไม่มีปัญหา แต่จะได้เงินจองคืนหรือ..! หัวข้อ: Re: ยกเลิกการรับรถได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: Kaka ที่ สิงหาคม 08, 2012, 05:28:19 pm ได้ครับ แต่ค่าจองจะไม่ได้คืน หาเหตุผลดีๆ แจ้งไป ครับ
หัวข้อ: Re: ยกเลิกการรับรถได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: sathapat ที่ สิงหาคม 09, 2012, 10:06:15 am ได้ครับ...แต่เงินจองไม่ได้คืน painful
หัวข้อ: Re: ยกเลิกการรับรถได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: kittisak.1589 ที่ สิงหาคม 09, 2012, 10:57:35 am พอดีผมได้จองรถไว้กับอีกยี่ห้อหนึ่ง ยื่นเอกสารเซ้นกับไฟแนนซ์และก็ผ่านเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้เซ้นต์รับรถ ผมสามารถยกเลิกได้ไหมคัรบ (ยกเลิกจะมากินปา น่ะคัรบ..) ขอบคุณคัรบ ในใบจองจะมีวันกำหนดรับรถ ส่วนมากเซลล์จะลงป้องกันตัวเขาเองไว้ ว่า "พร้อมรับ" หรืออื่นๆที่ไม่กำหนดวัน ที่แน่นอน ซึ่งแน่นอนเราย่อมเสียเปรียบ ดังนั้น ต้องตรวจดูว่า ลงในใบจองว่าอย่างไร ถ้มีกำหนดที่แน่นอน เราอาจหาเหตุผลเพื่อขอยกเลิกและรับเงินจองคืนได้ครับ จึงเป็นอุทธาหรณ์สำหรับการจองรถ อย่าเชื่อน้ำคำเซลล์มาก พึงรักษาสิทธิของเรา ให้มาก อีกนิดครับ ถ้าสุดท้าย ยังไงลอง ติดต่อ สินเชื่อที่ขอแล้วผ่านดูนะครับ ถ้าวงเงินไม่ต่าง น่าจะโอนยี่ห้อ ได้นะครับ หัวข้อ: Re: ยกเลิกการรับรถได้ไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: kittisak.1589 ที่ สิงหาคม 09, 2012, 11:04:34 am ผมคัดลอกมาให้อ่านเล่นๆ
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา/คืนเงินจองรถ/ สคบ. ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องการขอเงินจอง / เงินวางมัดจำซื้อรถยนต์คืน เนื่องจากด้วยสาเหตุหลายประการด้วยกัน ทนายคลายทุกข์จึงนำประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งรายละเอียดของประกาศ มีดังนี้ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542 คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาออกประกาศไว้ดังต่อไปนี่ ข้อ 1 ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจอง” หมายความว่า การประกอบกิจการขายรถยนต์โดยผู้ประกอบธุรกิจนำรถยนต์ออกขายโดยให้ผู้บริโภคทำการจองซื้อ “สัญญาจองรถยนต์” หมายความว่า ข้อตกลงใด ๆ ที่ผู้บริโภคทำกับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อการจองซื้อรถยนต์ โดยผู้ประกอบธุรกิจได้รับเงินหรือได้รับสิ่งใดไว้เป็นมัดจำและให้คำมั่นว่าจะส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคตามเวลาที่กำหนดในสัญญา “รถยนต์” หมายความว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลแต่ไม่เกินสิบสองคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ข้อ 3 สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ซึ่งขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ ดังนี้ (1.1) ยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ (1.2) รายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมหรือของแถมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (ถ้ามี) (1.3) จำนวนเงิน หรือสิ่งที่รับไว้เป็นมัดจำ (ถ้ามี) (1.4) ราคา (2) กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์ (3) ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (3.1) ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น (3.2) ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด (3.3) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มี ยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา (3.4) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญา (4) ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิบอกเลิกสัญญา หากมีข้อเท็จจริงที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับทราบว่า ผู้บริโภคต้องขอสินเชื่อเพื่อการซื้อรถยนต์และผู้บริโภคไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อตามที่ขอภายในกำหนดเวลาตาม (2) (5) เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาตาม(3) หรือ (4) แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินหรือสิ่งใดที่รับไว้เป็นมัดจำทั้งหมดแก่ผู้บริโภค ภายใน 15 วัน (6) การผิดสัญญาเรื่องใดของผู้บริโภคที่มีผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะต้องเป็นข้อที่ผู้ประกอบธุรกิจระบุไว้เป็นการเฉพาะตัวอักษรที่เห็นเด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป ข้อ 4 ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายทำนองเดียวกัน ดังต่อไปนี้ (1) ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญาของผู้ประกอบธุรกิจ (2) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการส่งมอบรถยนต์ หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญาจองรถยนต์ ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา (3) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภค โดยผู้บริโภคโดยผู้บริโภคมิได้ผิดสัญญา หรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ลงชื่อ นายขวัญชัย สันตสว่าง ประธานกรรมการว่าด้วยสัญญา (ข้อมูลจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 125 ตอนพิเศษ 167 ง วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551)
|