หัวข้อ: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: PAJERO2554 ที่ เมษายน 02, 2012, 06:05:09 pm (http://www.picza.net/save/20120402vvEdvOPdTTdvPl102394_sv1/pic/2012_04_02-040-20120402vvEdvOPdTTdvPl102394.jpg)
เมื่อวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมากระผมได้เดินทางเพื่อไปธุระ ที่อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎ์ธานี (รายละเอียดตามรูป) โดยใช้รถยนต์ ปาเจโร่ขับมาทางสาย bypass เเล้วชิดเลนน์ขวาเพื่อกลับรถ เเต่ระหว่างที่กระผมกลับรถอยู่นั้นมีรถทางตรงหลายคันมาด้วยความเร็วสูง เเละเเซงซ้ายรถ กระผมไปจึงทำให้กระผมไม่สามารถขับรถ ไปทางเลน ซ้ายได้ทันที กระผมจึงขับประคองเพื่อให้รถเลนซ้ายว่างเเล้วจะออกเลนซ้าย เเต่มาเจอตำรวจท่านหนึ่งยืนอยู่บริเวณ เกาะกลางถนน เเล้วโบกให้รถผมจอด กระผมจึงลงกระจกเเล้วยกมือไหว้เเล้วถามตำรวจท่านนั้นว่า เกิดอะไรขึ้น ตำรวจท่านั้นตอบว่ากระผมทำผิดกฎจราจร คือ ขับรถเลนขวา เเล้วขอดูใบขับขี่กระผม เเล้วเขียนใบสั่ง ความผิด ไม่ขับรถทางซ้าย กระจึงอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เเต่ตำรวจท่านั้นไม่รับฟัง เเละเเจ้งให้ผมไปชี้เเจ้งกับร้อยเวร ที่ สถานีตำรวจทางหลวง ที่ท่าฉาง ซึ่งระยะทาง จากจุดเกิดเหตุ กับ สถานีตำรวจทางหลวง ที่ท่าฉาง ไกลมากหลายสิบกิโลเมตร กระผมก็เดินทางไปเสียค่าปรับที่ สถานีตำรวจทางหลวง ที่ท่าฉาง ทำให้ผมเสียเวลาทั้งวัน (ต้องถามทางไปตลอดเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับเส้นทาง) บอกไว้เพื่อประจานตัวเองครับ หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: Liverpool(ชาติ) ที่ เมษายน 02, 2012, 06:30:37 pm ขอบคุณที่มาเล่าให้ฟังครับ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: nortirut ที่ เมษายน 02, 2012, 06:39:27 pm ขอบคุณที่บอกครับ แต่เป็นผม ผมไม่จอดอ่ะครับ โบกอยู่คนเดียวผมก็ขับไปเยประจำ อย่างดีก็ส่งจดหมายมาบ้านค่อยไปจ่าย
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: EnGiNeEriNg No.407 ที่ เมษายน 02, 2012, 06:53:25 pm ขอบคุณที่บอกครับ แต่เป็นผม ผมไม่จอดอ่ะครับ โบกอยู่คนเดียวผมก็ขับไปเยประจำ อย่างดีก็ส่งจดหมายมาบ้านค่อยไปจ่าย ตามนี้เลยครับคนเดียวไม่จอดเด็ดขาด... :) :) :) :)หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: thekop07 ที่ เมษายน 02, 2012, 07:02:07 pm ต้องรอถนนโล่งๆแล้วค่อยกลับรถ และต้องชิดซ้ายทันทีเหรอเนี่ย ... เฮ่อออ ทนไม่ได้
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: wangpk ที่ เมษายน 02, 2012, 07:17:06 pm (http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/V3528578/V3528578-4.jpg)
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: thekop07 ที่ เมษายน 02, 2012, 07:22:00 pm (http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/V3528578/V3528578-4.jpg) ต้องก็อปปี้มาตรา 34 35 ติดรถไว้แระ เคยอ่านเจอเหมือนกันครับ แต่ถ้าเถียงก็มีแต่จะไม่จบนะสิ .... เดี่ยวจะกลายเป็นเรื่องอื่นไปอีก ทนไม่ได้ หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: Liverpool(ชาติ) ที่ เมษายน 02, 2012, 07:57:46 pm (http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/V3528578/V3528578-4.jpg) ต้องก็อปปี้มาตรา 34 35 ติดรถไว้แระ เคยอ่านเจอเหมือนกันครับ แต่ถ้าเถียงก็มีแต่จะไม่จบนะสิ .... เดี่ยวจะกลายเป็นเรื่องอื่นไปอีก ทนไม่ได้ หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: waranun ที่ เมษายน 02, 2012, 07:59:54 pm เมื่อวานกลับจากขอนแก่นช่วงโคราชเข้าสระบุรี ตำรวจโบรก ก็นึกว่าโดนแล้วกะบะคันหน้าโดนไปก่อนเพราะขับไล่กันมาตลอด งานนี้ก็ลอด
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: naruto ที่ เมษายน 02, 2012, 08:00:49 pm ผมก็อ่านเจอบทความนี้ครับ ไปเถียงกับตำรวจ ยังไงก็ผิดครับ
ทางที่ดีนะครับ ถ้าโดนเรียกก็อ่อนน้อมไว้ก่อนครับ สำหรับผมนะ พอโดนก็เลื่อนกระจกลง ยกมือสวัสดีครับคุณพี่ตำรวจ แล้วก็พูดจาดีกับเค้า ใช้น้ำเสียงที่ปานกลางครับ จะได้คุยกันง่ายขึ้น ยิ่งไปเบ่งหรือก่างก็ไม่มีผลดี (นอกจากป๋าๆ มีแบล็คดีนะครับ) บางครั้งที่โดนเรียกยอมปล่อยไปโดยตักเตือนนิดหน่อยครับ เต็มที่ก็โดน 100 บาทครับ ผมโดนเส้นสายขึ้นเหนือบ่อยครับ big smile หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: birdyman ที่ เมษายน 02, 2012, 08:16:58 pm เคยโดนเหมือนกัน เต็มที่ 100 เดียวแบบว่า "ช่วยๆหน่อยละกันครับ" อะ..... 100 นึง
แต่ไม่แนะนำครับ สังคมมันจะต่ำลงๆเรื่อยๆ :o หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: ChaiwatHD ที่ เมษายน 03, 2012, 07:17:00 am ผมเคยโดนโบกเหมือนกัน แต่ ไม่ให้เงิน เรื่องก็เลยจบ ตำรวจ กลัวโดนถ่ายรุป ขึ้นเว็ป ที่สุด ครับ
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: auddyza ที่ เมษายน 03, 2012, 07:29:02 am ปลอดภัยตลอดเส้นทาง อาศัยใบขับขี่มีรูปชุดขาวเต็มยศ คริคริ
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: thekop07 ที่ เมษายน 03, 2012, 08:12:52 am เคยโดนเหมือนกัน เต็มที่ 100 เดียวแบบว่า "ช่วยๆหน่อยละกันครับ" อะ..... 100 นึง แต่ไม่แนะนำครับ สังคมมันจะต่ำลงๆเรื่อยๆ :o เป็นผมถ้าคุยกันไม่ลงตัวผมขอใบสั่งครับ ถ้าทุกคนร่วมมือกันทำ คิดว่าการขอส่วยอาจจะหายไปเอง good หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: PAJERO2554 ที่ เมษายน 03, 2012, 08:26:05 am ปกติแฟนผมจะกลับบ้านที่ดอนสักเดือนละครั้งครับ เพื่อพาพ่อตาที่เป็นอัมพาตไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสุราษฎ์ฯ
ก็มาเจอตำรวจงานดีเสียก่อนสรุปวันนั้นก็ไม่ได้ทำอะไร เเต่แฟนก็เล่าเรื่องให้ทุกคนรับทราบเเล้ว เเละก็ทุกคนก็ให้พรตำรวจไปแล้ว ผมว่าถ้าตำรวจได้รับพรบ่อยๆ......... หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: thekop07 ที่ เมษายน 03, 2012, 08:33:45 am ปกติแฟนผมจะกลับบ้านที่ดอนสักเดือนละครั้งครับ เพื่อพาพ่อตาที่เป็นอัมพาตไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสุราษฎ์ฯ ก็มาเจอตำรวจงานดีเสียก่อนสรุปวันนั้นก็ไม่ได้ทำอะไร เเต่แฟนก็เล่าเรื่องให้ทุกคนรับทราบเเล้ว เเละก็ทุกคนก็ให้พรตำรวจไปแล้ว ผมว่าถ้าตำรวจได้รับพรบ่อยๆ......... ถูกต้องครับ ปล่อยให้ผลบุญผลกรรมเล่นงาน แต่อย่าไปจ่ายนอกระบบครับ คนเรารู้อยู่แก่ใจว่ากำลังทำอะไรอยู่ despise หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: PoR ลำลูกกา ที่ เมษายน 03, 2012, 08:34:59 am เส้นชลบุรี ลัดเขาไม้แก้ว ไประยองก็มีครับ... เจอบ่อยๆๆ แต่ส่วนมากเค้ารู้่ทัน... :) หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: wangpk ที่ เมษายน 03, 2012, 11:18:47 am ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE) หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้ 1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย 2. หลักคุณธรรม (Morality) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ 3. หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ 4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ 5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง 6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน ข้อมูลจาก http://chiangmai.excise.go.th/tammapibal.htm หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: BigFather ที่ เมษายน 03, 2012, 11:31:27 am กฎหมายยังเปิดให้เจ้าหน้าที่ตีความได้อยู่ครับ..
จะตีความว่าผิด ก็ได้ครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจอดรถ ทักทายกันครับ..เสียงเข้มมากก็ผิดมาก เสียงอ่อนนุ่มก็ผิดน้อยหน่อยครับ หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: wangpk ที่ เมษายน 03, 2012, 11:39:17 am เเล้วใครจะเป็นพยาน
ผมว่าดูที่เจตนามากกว่า ถ้าว่ากันตามกฎหมาย บนทางหลวงร้อยละ 80 ขับรถเกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทั้งนั้น ความหมายของการตั้งด่านตรวจ กองบังคับการตำรวจจราจร และกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานตำรวจจราจร 1999 (Police Traffic Enforcement Manual) [2] ไว้ใช้ในกิจการ โดยมีใจความที่เกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ เป็นแบบมาตรฐานเดียวกันมีใจความว่า 1 ด่านตรวจ คือสถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจ ออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2521 หรือทางหลวง ความหมายตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นทางการ การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แล้วแต่กรณี ดังรูปที่ 4 รูปที่ 4 การตั้งด่านตรวจค้นยาเสพติด 2 จุดตรวจ คือสถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2521 หรือทางหลวง ความหมายตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2535) ในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบยกเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที ดังรูปที่ 5 รูปที่ 5 การตั้งจุดตรวจควันดำ 3 จุดสกัด คือสถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2521 หรือทางหลวง ความหมายตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2535) ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น ให้จัดตั้งเป็นการชั่วคราว และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบยกเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที ดังรูปที่ 6 รูปที่ 6 จุดสกัดยานพาหนะ ที่มาของการตั้งด่านตรวจ, จุดตรวจ และจุดสกัด 1 ความสำคัญ การตั้งด่านตรวจ, จุดตรวจ และจุดสกัด กระทำเมื่อต้องการค้นบุคคล หรือยานพาหนะที่ผ่านเข้าออกพื้นที่ เป็นการบีบบังคับไม่ให้คนร้ายมีโอกาสหลบหนีออกจากพื้นที่ที่ปิดล้อม ตรวจค้นอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำผิด ค้นหาสิ่งผิดกฎหมายในยานพาหนะต้องสงสัย เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด และตัดช่องโอกาสในการประกอบอาชญากรรมของคนร้าย 2 ลักษณะพื้นฐาน 1) ใช้เมื่อกรณีเกิดมีเหตุจำเป็น หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน 2) ปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด 3) ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา (ตามข้อ 1.2 ) 4) มีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร เป็นหัวหน้าควบคุม 5) แต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ 6) ที่จุดตรวจต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุดตรวจ” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จุดตรวจจะต้องมี ในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายจราจร ควรจัดให้มีสิ่งกีดขวาง หรือสัญญาณอื่นใดให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายในระยะไกล เช่น กรวยยางคาดแถบสะท้อนแสงเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ 7) ในเวลากลางคืนต้องให้มีไฟส่องสว่างให้มองเห็นอย่างชัดเจนได้ในระยะไกล ได้ไม่น้อยกว่า 150 เมตร ก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดง ยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจ และจะตรวจดังกล่าว และให้แผ่นป้ายแสดงข้อความว่า “หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ โทร xx-xxxx-xxxx” (ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก. ไว้) ข้อความดังกล่าวให้มองเห็นได้ชัดเจนได้ในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร 8) กำหนด “เขตพื้นที่ปลอดภัย” ไว้สำหรับเป็นบริเวณตรวจค้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแก่ผู้ต้องสงสัยที่ถูกตรวจค้น และเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างทำการตรวจค้น 9) ควรวางกำลังส่วนหนึ่งไว้ในบริเวณทางแยก หรือจุดกลับรถก่อนถึงจุตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อไว้ทำหน้าที่สกัดกั้น หรือไล่ติดตามผู้ที่เลี้ยวหรือกลับรถย้อนหลบหนีการตรวจค้น และควรมีชุดติดตามอย่างน้อยอีก 1 ชุด บริเวณเลยจุดตรวจ และจุดสกัดในระยะพอสมควรเพื่อติดตามยานพาหนะที่ไม่หยุดตรวจค้น 10) การตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัด ให้มีการประสานการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยใกล้เคียงให้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยมิให้เกิดการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดซ้ำซ้อน อันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้สัญจรไปมาเป็นอันขาด 11) พึงใช้ความระมัดระวัง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาททุกขณะทำการตรวจค้น 12) พึงเป็นผู้มีมารยาทที่ดีงาม และรักษากิริยาวาจาระหว่างทำการตรวจค้น เช่น ไม่ส่องไฟฉายไปบริเวณใบหน้าประชาชนผู้ถูกตรวจค้นโดยตรง และรู้จักใช้คำพูดที่สุภาพ เช่น “สวัสดีครับ” “ขอโทษครับ” และ “ขอบคุณครับ” 13) ใช้ความสังเกตและให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ยานพาหนะที่มีลักษณะพิรุธ เช่น รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน หรือพับงอแผ่นป้ายทะเบียน เพื่อปิดบังอำพรางหมายเลข หรือพาหนะที่มีการดัดแปลงสภาพ 14) ในการปฏิบัติตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน และประชาชน และไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ใช้ถนนโดยไม่จำเป็น 3 การควบคุมและการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อเริ่มต้น หรือเลิกปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้รายงานทางวิทยุสื่อสารให้ผู้บังคับบัญชา ผู้สั่งอนุมัติให้ตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าวทราบ และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ หรือสกัดดังกล่าวรายงานผลปฏิบัติ เป็นลายลักษณ์อักษร เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้สั่งอนุมัติภายในวันถัดไปเป็นอย่างช้า ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับสารวัตรขึ้นไป ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกตรวจ ผู้บังคับบัญชา ต้องดูแลเอาใจใส่กวดขัน ดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชาของตน มิให้ฉวยโอกาสขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด เรียก หรือรับผลประโยชน์จากผู้ใช้รถที่กระทำความผิดกฎหมาย หรือไปดำเนินการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ในแนวเขตทางเดินรถ หรือทางหลวง โดยมิได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และหากตรวจพบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใด ประพฤติมิชอบลักษณะดังกล่าวให้รีบพิจารณาดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไปตามอำนาจหน้าที่ ทั้งทางคดีอาญา และคดีวินัย แล้วรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ตร. ทราบโดยมิช้า การรายงานให้ระบุ ยศ นาม ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจผู้กระทำผิด พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ และพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดให้ละเอียดชัดเจน ที่มา: คู่มือการปฏิบัติงานตำรวจจราจร, 1999 หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: EnGiNeEriNg No.407 ที่ เมษายน 03, 2012, 02:20:42 pm เเล้วใครจะเป็นพยาน สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ สาธุผมว่าดูที่เจตนามากกว่า ถ้าว่ากันตามกฎหมาย บนทางหลวงร้อยละ 80 ขับรถเกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทั้งนั้น ความหมายของการตั้งด่านตรวจ กองบังคับการตำรวจจราจร และกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานตำรวจจราจร 1999 (Police Traffic Enforcement Manual) [2] ไว้ใช้ในกิจการ โดยมีใจความที่เกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ เป็นแบบมาตรฐานเดียวกันมีใจความว่า 1 ด่านตรวจ คือสถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจ ออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2521 หรือทางหลวง ความหมายตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2535) โดยระบุสถานที่ไว้ชัดแจ้งเป็นทางการ การตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แล้วแต่กรณี ดังรูปที่ 4 รูปที่ 4 การตั้งด่านตรวจค้นยาเสพติด 2 จุดตรวจ คือสถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2521 หรือทางหลวง ความหมายตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2535) ในกรณีปกติเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาเท่าที่มีความจำเป็น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวต้องไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบยกเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที ดังรูปที่ 5 รูปที่ 5 การตั้งจุดตรวจควันดำ 3 จุดสกัด คือสถานที่ทำการที่เจ้าพนักงานตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้น เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดในเขตทางเดินรถ (ความหมายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2521 หรือทางหลวง ความหมายตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2535) ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น ให้จัดตั้งเป็นการชั่วคราว และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วจะต้องยุบยกเลิกจุดตรวจดังกล่าวทันที ดังรูปที่ 6 รูปที่ 6 จุดสกัดยานพาหนะ ที่มาของการตั้งด่านตรวจ, จุดตรวจ และจุดสกัด 1 ความสำคัญ การตั้งด่านตรวจ, จุดตรวจ และจุดสกัด กระทำเมื่อต้องการค้นบุคคล หรือยานพาหนะที่ผ่านเข้าออกพื้นที่ เป็นการบีบบังคับไม่ให้คนร้ายมีโอกาสหลบหนีออกจากพื้นที่ที่ปิดล้อม ตรวจค้นอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำผิด ค้นหาสิ่งผิดกฎหมายในยานพาหนะต้องสงสัย เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด และตัดช่องโอกาสในการประกอบอาชญากรรมของคนร้าย 2 ลักษณะพื้นฐาน 1) ใช้เมื่อกรณีเกิดมีเหตุจำเป็น หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน 2) ปฏิบัติในการตรวจค้น จับกุม ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีว่าด้วยการนั้นโดยเคร่งครัด 3) ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา (ตามข้อ 1.2 ) 4) มีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร เป็นหัวหน้าควบคุม 5) แต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ 6) ที่จุดตรวจต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า “หยุดตรวจ” โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จุดตรวจจะต้องมี ในการติดตั้งป้ายและเครื่องหมายจราจร ควรจัดให้มีสิ่งกีดขวาง หรือสัญญาณอื่นใดให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายในระยะไกล เช่น กรวยยางคาดแถบสะท้อนแสงเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ 7) ในเวลากลางคืนต้องให้มีไฟส่องสว่างให้มองเห็นอย่างชัดเจนได้ในระยะไกล ได้ไม่น้อยกว่า 150 เมตร ก่อนถึงจุดตรวจ และให้มีแผ่นป้ายแสดง ยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำด่านตรวจ และจะตรวจดังกล่าว และให้แผ่นป้ายแสดงข้อความว่า “หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ โทร xx-xxxx-xxxx” (ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ของ ผบก. ไว้) ข้อความดังกล่าวให้มองเห็นได้ชัดเจนได้ในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร 8) กำหนด “เขตพื้นที่ปลอดภัย” ไว้สำหรับเป็นบริเวณตรวจค้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแก่ผู้ต้องสงสัยที่ถูกตรวจค้น และเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างทำการตรวจค้น 9) ควรวางกำลังส่วนหนึ่งไว้ในบริเวณทางแยก หรือจุดกลับรถก่อนถึงจุตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อไว้ทำหน้าที่สกัดกั้น หรือไล่ติดตามผู้ที่เลี้ยวหรือกลับรถย้อนหลบหนีการตรวจค้น และควรมีชุดติดตามอย่างน้อยอีก 1 ชุด บริเวณเลยจุดตรวจ และจุดสกัดในระยะพอสมควรเพื่อติดตามยานพาหนะที่ไม่หยุดตรวจค้น 10) การตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัด ให้มีการประสานการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยใกล้เคียงให้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบติดต่อกัน โดยมิให้เกิดการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดซ้ำซ้อน อันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้สัญจรไปมาเป็นอันขาด 11) พึงใช้ความระมัดระวัง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาททุกขณะทำการตรวจค้น 12) พึงเป็นผู้มีมารยาทที่ดีงาม และรักษากิริยาวาจาระหว่างทำการตรวจค้น เช่น ไม่ส่องไฟฉายไปบริเวณใบหน้าประชาชนผู้ถูกตรวจค้นโดยตรง และรู้จักใช้คำพูดที่สุภาพ เช่น “สวัสดีครับ” “ขอโทษครับ” และ “ขอบคุณครับ” 13) ใช้ความสังเกตและให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ยานพาหนะที่มีลักษณะพิรุธ เช่น รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน หรือพับงอแผ่นป้ายทะเบียน เพื่อปิดบังอำพรางหมายเลข หรือพาหนะที่มีการดัดแปลงสภาพ 14) ในการปฏิบัติตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน และประชาชน และไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ใช้ถนนโดยไม่จำเป็น 3 การควบคุมและการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อเริ่มต้น หรือเลิกปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจ หรือจุดสกัด ให้รายงานทางวิทยุสื่อสารให้ผู้บังคับบัญชา ผู้สั่งอนุมัติให้ตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัดดังกล่าวทราบ และเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ หรือสกัดดังกล่าวรายงานผลปฏิบัติ เป็นลายลักษณ์อักษร เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้สั่งอนุมัติภายในวันถัดไปเป็นอย่างช้า ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับสารวัตรขึ้นไป ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกตรวจ ผู้บังคับบัญชา ต้องดูแลเอาใจใส่กวดขัน ดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชาของตน มิให้ฉวยโอกาสขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด เรียก หรือรับผลประโยชน์จากผู้ใช้รถที่กระทำความผิดกฎหมาย หรือไปดำเนินการตั้งจุดตรวจ หรือจุดสกัด ในแนวเขตทางเดินรถ หรือทางหลวง โดยมิได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และหากตรวจพบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใด ประพฤติมิชอบลักษณะดังกล่าวให้รีบพิจารณาดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไปตามอำนาจหน้าที่ ทั้งทางคดีอาญา และคดีวินัย แล้วรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ตร. ทราบโดยมิช้า การรายงานให้ระบุ ยศ นาม ตำแหน่งของข้าราชการตำรวจผู้กระทำผิด พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะ และพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดให้ละเอียดชัดเจน ที่มา: คู่มือการปฏิบัติงานตำรวจจราจร, 1999 หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: ant_แอ้นท์ No.9 ที่ เมษายน 03, 2012, 09:51:46 pm เอาอีกแล้วเหรอป้อมกานดิษ ประจำเลยป้อมนี้ ขนาดว่าครอบครัวผมเป็นญาติกับหัวหน้าป้อมนี้ ยังโดนเลยคับ ป้อมนี้ของเค้าแรงๆๆๆคับ
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: note_ks ที่ เมษายน 04, 2012, 06:58:30 pm ต้องทำใจ ตำรวจดีมีน้อย ตำรวจแย่มีถมไป
ช่วงนี้ต้องทำยอด ใครสงกรานต์แล้ว หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: GUNT@NERY ที่ เมษายน 10, 2012, 11:59:17 am ข้อหานี้มีได้ตลอดครับ ใครที่ขุบเส้นทางหลวงหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา - ปราจีนบุรี ช่วงที่กำลังจะเข้าแยก อ.บางคล้า โผล่มาตลอด ๆ จะมีอยู่ คนเดียวบ้าง 2 คนบ้าง และข้อหาเดียวนี้แหละครับ ขับรถเลนขวา ผมโดนโบกไปหลายรอบ เวลากลับบ้านที่แปดริ้ว แต่ไม่ได้เงินผมหลอกครับ .... พอดีมีบัตรเบ่ง 55555 ล้อเล่น eie eie eie
หัวข้อ: Re: ปาโดนใบสั่ง เริ่มหัวข้อโดย: PAJERO2554 ที่ เมษายน 10, 2012, 12:12:41 pm ขอบคุณท่านสมาชิกทุกท่านครับ
สงกรานต์นี้ถ้ามีการเดินทางก็ขอให้เดินทางโดนสวัสดิภาพ ให้เเคล้วคลาดกับสิ่งไม่ดีทุกอย่างครับ ก็ถือโอกาสนี้สวัสดีไปใหม่ไทยล่วงหน้าครับ
|