Languages
หน้า: 1 2 [3]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: .  (อ่าน 17220 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
auddyza
Hero Member
*****

like: 127
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2451



« ตอบ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2012, 11:05:13 pm »

ความจริงในกล่องดันรางแบบมือหมุนบางยี่ห้อที่เค้าทำขายกันหลายพัน
ภายในก็มีอุปกรณ์เพียงไม่กี่สิบบาทเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะเอาไปหลอกเซนเซอร์ตัวไหน

การหลอกเซนเซอร์ aitflow ก็เพื่อช่วยในการเพิ่มการฉีดน้ำมัน หลอก ECM หรือ ECU ว่า อากาศเข้ามาเยอะ
มันก็จะได้จ่ายน้ำมันขึ้นอีก เพื่อให้ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเป็นไปอย่างลงตัว

กลุ่มแก๊งค์กระเป๋าแหกก็ได้ลองมาบ้างเช่นกัน วันไหนอยากแรงมาก เช่นอยากเอาไปแข่งก็ถอดปลั๊กมันออกไปเลย แรงส์สสสสสส....
แต่เดี๋ยวนี้ไม่หลอกตัวนี้แล้ว ขอให้ส่วนผสมน้ำมันกับอากาศตามจริงดีกว่า แล้วไปหลอกอย่างอื่นแทน
จะได้แรงแบบสม่ำเสมอ ไม่วูบวาบไปตามสภาพอากาศ  Smiley

แต่หากอยากลองทำดูก็ไม่เสียหาย ระวังแค่เรื่องทำไฟช็อตอย่างเดียว
กล่อง ECU ของเรามันเจ๋งไม่เสียง่ายๆ  Smiley
ใช่แล้วป๋า ผมว่าลองเล่นขำๆน่ะพอได้ แต่เอามาใช้ในชีวิตประจำวันเสี่ยงแบบไม่คุ้ม                                                                           
บันทึกการเข้า
Na ratchada
Hero Member
*****

like: 126
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3345



« ตอบ #31 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2012, 09:04:35 am »

งั้นเปลี่ยน R เป็น Volume (R ปรับค่าได้) น่าจะจูนได้ด้วย...

ต่อสายมาในตัวรถแล้วจูนตามต้องการเลยใช่หรือเปล่าครับ  good

แนะนำด้วยครับ

 สาธุ

ต่อยอดกันไปเรื่อยๆ...  like like

เตรียม ค่าความต้านทานไว้สัก 3 ค่า   ทำ switchor เลือก mode ได้จากในรถ  ง่ายต่อการใช้งานทุกย่านความเร็ว Cheesy ฮือๆๆ
บันทึกการเข้า
Na ratchada
Hero Member
*****

like: 126
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3345



« ตอบ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2012, 09:10:27 am »

ออกรถมาได้หอน โคลง พวงมาลัยหนัก ออกตัวอืด มาลองกันดีไหมครับ
แก้อาการออกตัวอืด ด้วยการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า ที่ Airflow ด้วยเงินไม่ถึง 10บาท
เข็มหมุด 2 เล่ม R68k 1 ตัว ( 100k เพิ่มน้ำมันน้อยกว่า)
ออกตัวดีขึ้น +กินน้ำมันเพิ่มด้วย(ไม่ต้องดันราง)
เวลาเข้าศูนย์ก็ถอดออกง่ายๆ

อยากทำ ผมไม่รับผิดชอบนะครับ แค่มาบอกเป็นความรู้

หลักการแบบนี้  เห็นเขาใช้กันตอน test จูน airflow ในช่วงความเร็วแต่ละย่าน   เพื่อไปออกแบบกล่องควบคุมแบบแปรผันตามคันเร่ง    หากจะเอามาใช้งานจริงอาจจะได้ประโยชน์จากข้อดีส่วนหนึ่ง   แต่ก็มีข้อเสียบ้าง(บางโอกาส)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
บันทึกการเข้า
Na ratchada
Hero Member
*****

like: 126
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3345



« ตอบ #33 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2012, 09:10:47 am »

ความจริงในกล่องดันรางแบบมือหมุนบางยี่ห้อที่เค้าทำขายกันหลายพัน
ภายในก็มีอุปกรณ์เพียงไม่กี่สิบบาทเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะเอาไปหลอกเซนเซอร์ตัวไหน

การหลอกเซนเซอร์ aitflow ก็เพื่อช่วยในการเพิ่มการฉีดน้ำมัน หลอก ECM หรือ ECU ว่า อากาศเข้ามาเยอะ
มันก็จะได้จ่ายน้ำมันขึ้นอีก เพื่อให้ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเป็นไปอย่างลงตัว

กลุ่มแก๊งค์กระเป๋าแหกก็ได้ลองมาบ้างเช่นกัน วันไหนอยากแรงมาก เช่นอยากเอาไปแข่งก็ถอดปลั๊กมันออกไปเลย แรงส์สสสสสส....แต่เดี๋ยวนี้ไม่หลอกตัวนี้แล้ว ขอให้ส่วนผสมน้ำมันกับอากาศตามจริงดีกว่า แล้วไปหลอกอย่างอื่นแทน
จะได้แรงแบบสม่ำเสมอ ไม่วูบวาบไปตามสภาพอากาศ  Smiley

แต่หากอยากลองทำดูก็ไม่เสียหาย ระวังแค่เรื่องทำไฟช็อตอย่างเดียว
กล่อง ECU ของเรามันเจ๋งไม่เสียง่ายๆ  Smiley
มาเพื่อข้อมูล

ตามความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ...........หลังจากเคยผ่านจุดนี้มาแล้ว....

ขอให้ข้อมูลสำหรับเพื่อนสมาชิกที่สนใจ  จากประสบการณ์ส่วนตัวที่มีนะครับ.....ลองพิจารณาดู

การทำแบบนี้คือการ เอาตัว R ไปขนาน ค่าความต้านทานเดิม   ทำให้ค่าความต้านทานรวมของ sensor ลดลง     ซึ่งในค่าปกติค่าความต้านทานของ sensor จะสูงกว่านี้    แต่เมื่อมีอากาศไหลผ่านพวกกระเปาะ sensor และอุปกรณ์พวกนี้มากๆตามค่าที่กำหนด ก็จะลดความต้านทานของตัวเองลง  ตามปริมาณการไหลของมวลอากาศ(ซึ่งยังมีเงื่อนไขเรื่องความชื้น อุณหภูมิ ในอากาศ)เป็นตัวแปรของค่ามวลอากาศอีก   เมื่อความต้านทางกระแสลดลง ก็ผอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากขึ้น  กล่องสมองก็จะสั่งจ่ายน้ำมันตามความสัมพันธ์ของมวลอากาศและไอดีที่โปรแกรมในตัวมันระบุไว้    โดยปกติแล้วกล่องจะทำงานตามค่ากำหนดต่างๆ   เมื่อตัวแปรเรื่องคันเร่งเพิ่มขึ้น  ตัวแปรอื่นก็เพิ่มตาม    ในอัตราส่วนผสมตามหลักการออกแบบ

ตามหลักการออกแบบ จะกำหนดค่าของความต้านทานแต่ละจุด โดยที่เผื่อค่า เซฟตี้ต่างๆไว้  เช่นปริมาณความสกปรกที่ยอมรับได้ของsensor  และกล่องยังทำงานได้ปกติ    ความสกปรกของกรองอากาศที่ยอมรับได้และกล่องทำงานปกติ    หากจะมีผิดเพื้ยนบางก็คงไม่มากจนเกิดอาการข้างเคียง    ใน mode การใช้งานปกติ  ทั่วไปของคนที่ใช้อย่างเดียว

**ในการตกแต่ง sensor air flow นั้นมีหลายรูปแบบหลายหลักการ   และไม่ควรจะทำจุดเดียว  เช่น  แอร์โฟว์ที่มีค่าความต้านทานต่ำกว่าจองติดรถ    กรองอากาศที่ยอมให้อากาศไหลผ่านสะดวกโล่งกว่าเดิม   การเปลี่ยนเทอร์โบลูกใหญ่   ให้มีการดูดอัดมากกว่าเดิม    ฯลฯ   ของแต่งพวกนี้ล้วนแล้วแต่มีกับ sensor airflow ถึงต้องมีการตกแต่ง  มีกล่องจูนair flow  มีกล่องหลอก   หรือช๊อต sensor   หรือดึงปลั๊กออกเลย  หากอยากแซดดดดดด   ชั่วคราว....    ทั้งนี้คนขายอุปกรณ์พวกนี้  เขาถนัดและมีประสบการณ์เฉพาะทางกันมากกว่า   อยู่ที่ว่าเวลาแนะนำเขาจะแนะนำตัวไหนก่อน  แล้วตามด้วยตัวไหน  และปรับเพิ่มด้วยอะไร   (หากเจ้าของรถยังติดเรื่อง  แร๊งงงค์  ก็ได้เป็นลูกค้าที่สนิดสนมกันไป) Cheesy Cheesy

จากที่แชร์ข้อมูลมาไม่ใช่ว่าสิ่งที่แนะนำนี้ไม่ดี  ไม่ได้ผลนะครับ   มันใช้ได้และได้ผลในระดับหนึ่ง   หากเล่นเพื่อสนุก    อาการจะเกิดบ้างก็ตอนกรองสกปรก  sensorสกปรก  นั่นแหละ   อีกเรื่องก็การหลอกแบบนี้หลอกมันตลอดช่วงเลยนะครับ    บางครั้งส่วนผสมจริงอาจผิดผลาดเรื่องการเผาไหม้ได้    การเดินเบาของรอบอาจไม่นิ่ง  ถ้าค่าความต้านทานเท่านี้แล้วแรง เพิ่มประสิทธิภาพได้ดีจริง  โดยไม่มีผลข้างเคียง   คงปรับต่าออกมาจากผู้ผลิตแล้วครับ  เพราะต้นทุนนิดเดียว   ได้แรงในเชิงการตลาดดีกว่าอีก

ก็ขอขอบคุณ ป๋าเจ้าของกระทู้นะครับ  ที่นำสิ่งดีๆมาแลกเปลี่ยและแนะนำกัน   ถือว่าเอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกัน   สำหรับเพื่อนสมาชิกที่สนใจจะลองทำเล่นดูก็ได้ไม่เสียหาย   ที่ผมแชร์ก็ขอให้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมแล้วกันครับ   เพาะหากมีปัญหาอะไรขึ้นมาจะได้ไม่ตกใจหรือกังวล  

***หลอกกล่องมันมากๆ   ระวังมันงงจนเบลอ  แล้วมันหลอกคืนนะครับ  คราวนี้แหละ  จะหลอนจนปวดหัวตึ๊บ   อาจโดนช่าง mobile หลอกซ้ำต่ออีก  คราวนี้หลายบาทเลยครับ *********

เพื่อเป็นข้อมูล สำหรับเสาร์หรรษา......พิจารณาข้อมูลจากส่วนอื่นๆ  อีกทีนะครับ  


  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2012, 09:17:59 am โดย Na ratchada » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.033 วินาที กับ 22 คำสั่ง