Pajero Sport-Thailand ปาเจโร่สปอร์ตไทยแลนด์

Pajerosport Room => ดูแลและบำรุงรักษา/เทคนิค/ปัญหา/การแก้ไขน้องปา => ข้อความที่เริ่มโดย: @ เอ เด็กเมืองชล2.4 @ PajeroSport No.2522 ที่ มิถุนายน 13, 2013, 11:37:49 am



Languages

หัวข้อ: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: @ เอ เด็กเมืองชล2.4 @ PajeroSport No.2522 ที่ มิถุนายน 13, 2013, 11:37:49 am
วิธีการถนอมเกียร์รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนของการถนอมรักษาเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งการใช้งานและการทำงานของระบบเกียร์ทั้งสองแตกต่างกัน ทำให้อายุการใช้งานและวิธีการถนอมรักษาแตกต่างกันไปด้วยครับ

1.เกียร์ธรรมดา



1. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามระยะทางทุกๆ 20,000 กม.

2. ควรตรวจสอบรอยรั่วของ Seal ว่ามีปัญหาหรือไม่เช่น Seal ท้ายเกียร์ (จะอยู่ระหว่าง Adepter เกียร์ Main – Transfer Case), Switch เกียร์ถอย,  Seal หน้าแปลนเกียร์ 4 ว่ามีจุดไหนที่เกิดการรั่วหรือเปล่า



3. เวลาเดินทางไกล หรือไป Trip ต่างๆ รถของท่าน
อาจ จะต้องลุยน้ำ หลังจากกลับจากการเดินทางให้ตรวจ เช็คสภาพน้ำมันเกียร์ว่ามีน้ำผสมอยู่บ้างหรือไม่ ถ้าหาก มีน้ำผสมอยู่ภายในห้องเกียร์ อาจเป็นสาเหตุทำให้ อุปกรณ์และชิ้นส่วนของ เกียร์สึกหรอได้ง่าย

มาดูกันว่าอาการของเกียร์ Manual ที่มีปัญหาเป็นอย่างไรกันบ้าง
1. เข้าเกียร์ยาก
2. มีเสียงดังเวลาเข้าเกียร์
3. มีเสียงหอนเวลาวิ่ง
4. ขณะวิ่งเวลาถอนคันเร่งจะมีเสียงดังภายในห้องเกียร์



จากรูปภาพที่นำมาเสนอในครั้งนี้ เป็นชิ้นส่วนที่เสียหายภายในห้องเกียร์ สาเหตุเกิดจาก ปล่อยให้น้ำมันเกียร์แห้งไม่ได้ระดับ เนื่องจากเกิดการ ของ Seal และประเก็น และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งคือ ถังน้ำมันเกียร์ หมดสภาพ เพราะ ไม่ได้ตรวจเช็คและเปลี่ยน ถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะทาง ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วน ภายในห้องเกียร์สึกหรอและเกิดความ เสียหายได้ง่าย

 



เพียงแต่ ท่านนำรถยนต์คู่กายของท่านเข้าตรวจเช็ค สภาพและเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ตรงตามระยะทาง หรือทุกๆ 20,000 กม. ตรวจสอบรอยรั่วของ Seal ประเก็น หากพบปัญหาก็รีบแก้ไขแต่เนิ่นๆ เท่านี้ก็จะช่วยยืด อายุการใช้งานของเกียร์รถยนต์ของท่านไปได้อีกนาน

2. เกียร์อัตโนมัติ



1.ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ATF ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง แม้ตามกำหนดที่โรงงานได้กำหนดไว้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km. หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ เรา ติดๆ ขัดๆ ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งาน เดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวัน นานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุดกับเขาหน่อย นึง ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ จึงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราปฏิบัติได้ไม่ยากครับ อย่าถือว่าสิ้นเปลืองเลยนะ

2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อย ควรให้โอกาสมันได้ทำ “หน้าที่อัตโนมัติ” ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนดจังหวะ การเปลี่ยนเกียร์อยู่แล้วเป็นปกติวิสัยมีเจ้าของรถบางท่านที่เชื่อคำโฆษณา ว่าเกียร์ออโตสมัยใหม่สามารถโยกเปลี่ยนได้ตามใจชอบ ก็เลยเอานิสัยเดิมที่เคยใช้รถเกียร์ธรรมดามาใช้กับ AT คือเชนจ์ขึ้น-ลง ปรากฏว่า อายุเกียร์ ไม่ข้ามปีที่ 2 หรือไม่เกิน 40,000 กม. ด้วยซ้ำครับ พัง! สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทั้งวันจนเป็นนิสัย ชิ้นส่วนภายในเครียดตลอดเวลา ความร้อนสูงจากแรงดัน ATF ที่สูงเกินไป ทำให้สึกหรอสูง จนแรงดัน ATF ไม่คงที่ ทุกอย่างพังหมดครับ และพังอย่างเร็วซะด้วยครับ! บางท่านที่ไม่มากประสบการณ์ก็อาจเผลอกด Overdrive (เกียร์สำหรับลดรอบเครื่องยนต์) ไว้ทั้งวัน โดยมิได้สังเกตอาการก็มีครับ

3. ยุคหนึ่งเชื่อกันว่า ถ้าติดไฟแดงก็ควร “พักเกียร์” ผมเองในอดีตก็ทำเช่นนี้บ่อยๆ คือปลดเกียร์เป็น N ทุกครั้งที่ติดไฟแดง โดยหวังว่าจะช่วยเป็นการพักเกียร์! แต่ความจริงกลับไม่ต้องทำเช่นนั้น การใช้งาน AT ให้ยืนนาน ควรเข้าใจว่าทุกครั้งที่เรา “OFF Gear” น้ำมัน ATF จะหยุดแรงดันของมันทันทีครับ จำ “หลุมฉิ่ง” Orifice Valve ที่มีลูกปืนเม็ดเล็กๆ ทนๆ กลิ้งอุดและเปิดวาล์ว ATF ได้ไหมครับ ยามใดที่ ON Gear ลูกปืนในหลุมฉิ่งเหล่านี้จะเปิดให้ ATF ผ่านด้วยแรงดันน้ำมัน ATF ที่อัดอยู่เต็ม VB (Valve body สมองเกียร์) เพื่อ hold ตำแหน่งเกียร์ D อยู่แต่หากเราเข้าตำแหน่ง N เจ้า ATF ก็หยุดเดิน และไม่ “Standby” ลูกปืนเปิด-ปิด Orifice Valve ก็ปิดตัวลงนอนแอ้งแม้งใน “หลุมฉิ่ง” พอเราเข้าเกียร์ D เพื่อออกตัวในจังหวะไฟเขียว…เท่านั้นละครับ ATF มันก็แย่งกันสูบฉีดด้วยแรงดันให้ไหลวกวนใน VB สมองเกียร์ จงคิดเอาเถิดครับว่า วันหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งที่คุณได้ทำเช่นนี้ แรงดัน ATF มันจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา ไม่ Constant สักที ของเหลว (ATF) เมื่อเคลื่อนตัวไหลไป-มาด้วยแรงดันบ่อยๆ ความร้อนก็ไม่คลายแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ สี่แยกแล้วสี่แยกเล่า หยุดแล้วหยุดเล่า Orifice Valve ต้องทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุดกะปริบกะปรอย มันจะทนไหวหรือครับ ต่อไปนี้ให้ทำอย่างนี้ครับหากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควร “Hold D” เอาไว้ โดยเหยียบแป้นเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเข้า OFF Gear เป็น N อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุเกียร์ได้อีกโขเลยละครับ ด้วยวิธีง่ายๆนี้ จำไว้ต่อไปนี้หยุดแป๊บเดียวไม่ต้องปลดเกียร์

4. อย่าปลดให้เป็น N (ว่าง) เพื่อให้รถไหล เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันก่อนหยุดไฟแดง วิธีช่วยประหยัดน้ำมันเช่นนี้ไม่ดีแน่ แม้จะดีบ้างกับความประหยัดเชื้อเพลิงลิตรละ 10-15 บาท แต่เกียร์ออโตมันไม่ชอบควรปล่อยให้มัน ON Gear ไปจนถึงไฟแดงดีกว่าครับ แล้วแตะเบรกหยุดมันจะทนกว่ามากเลยครับ อีกอย่าง ความประหยัดเชื้อเพลิงด้วยวิธีไหลในตำแหน่ง N ก็ช่วยประหยัดแค่ 2-3% เท่านั้นเอง พูดถึงค่าซ่อมเกียร์ราว 2-3 หมื่น จะคุ้มหรือครับ!?

5. การ Take Off แบบในหนัง คือออกรถให้ล้อเอี๊ยดโชว์นั่นน่ะ อย่าทำเป็น อันขาด สิ่งที่จะพังเร็วคือ FP (Friction Plate) ที่เรียงเป็นตับอยู่ในเรือนเกียร์ไงครับ มันจะสึกจากความร้อนที่เสียดสีฉับพลัน น้ำมัน ATF ก็ร้อนสูง (ฮีต) บ่อยๆ เข้า เจ้า FP ซึ่งหนาแค่ 2-3 มิลลิเมตร ก็ไหม้ได้ครับ นึกถึงภาพเบิ้ลคันเร่ง บรื้นๆๆ… ในขณะที่ AT อยู่ในตำแหน่ง N วัดรอบขึ้นไปตั้ง 3,000-5,000 rpm แล้วโยกมาที่ N ทันที “จ๊ากโชว์” ได้แน่ครับ แต่ตับไตไส้พุงของ AT มันจะพังคาที่ ในการทำเช่นนี้ไม่ถึง 10 ที ลำพังเจ้าของแบบเราๆ คงไม่ทำเช่นนี้ แต่กล่าวเผื่อไว้สำหรับวัยรุ่นรถซิ่งนะครับ แอบเอารถคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กอู่บางคนแอบเอารถลูกค้าไปซิ่งเล่น ปรากฏว่าพังครับ พังชั่วไม่ข้ามคืนนี้แหละครับฉะนั้น อย่า Take Off เพื่อ Show Off เป็นอันขาดครับ!

6. ก่อนเข้า D ควรเหยียบแป้นเบรกไว้ก่อนหรือไม่? ก็ได้ครับ จะเหยียบก็ได้ หรือไม่ต้องก็ได้ ในกรณีที่เหยียบแป้นเบรกไว้ก็เพื่อไม่ให้รถกระตุกในขณะที่เข้า D เท่านั้นเอง หากเป็นรถเก่า เกียร์รุ่นเก่าๆ เวลา On gear จะกระตุกจนตกใจ ก็ควรเหยียบแป้นเบรกให้เป็นนิสัยก่อนเข้า D เพราะเกียร์ AT รุ่นเก่าจะกระตุกมากจนน่ารำคาญ รวมไปถึงเกียร์ AT ที่มีอายุการใช้งานมานมนานหลายปีอาจมีอาการสึกหรอให้เห็นชัดด้วยอาการกระตุก อย่างแรงน่ารำคาญ การเหยียบแป้นเบรกเพื่อช่วย On gear ด้วยความนุ่มนวลไว้ก่อนเข้า D ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ ส่วนจำเป็นมากน้อยอย่างไรก็แล้วแต่กรณีครับ แต่ผมเหยียบแป้นเบรกจนเป็นนิสัยก็ไม่ลำบากแต่อย่างใดครับ

7. หลังจากสตาร์ตรถเกียร์ AT แล้ว อย่าผละออกจากรถไปที่อื่น ! บางครั้งเจ้าของรถอาจเผลอเข้าตำแหน่ง D เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ลำพังเมื่อเปิดแอร์ เอาไว้ เจ้าอุปกรณ์ Idle UP Speed หรือเรียกกันว่า “Vacuum Air” อาจตัดเอาดื้อๆ เพราะอุณหภูมิความเย็นหนาวของแอร์แต่ละเวลา เย็นเร็วเย็นช้าไม่เท่ากัน ที่ตำแหน่งเกียร์ D บางครั้งเมื่อมีโหลดแอร์ รถเราถูกโหลดด้วยการเปิดแอร์ รถก็อาจจะหยุดนิ่งได้ แต่พอ Vacuum Air ตัด เครื่องยนต์ก็ปลดโหลดแอร์ไปอีกหน่อย รอบเครื่องยนต์เร่งขึ้นเอง ราว 500-700 rpm ก็อาจจะส่งผลโดยตรงให้เกียร์ ON D ทันที รถอาจวิ่งออกไปได้ดื้อๆ หรือบางทีโรงจอดรถเป็นเนินลาดขึ้น พอ Vacuum Air ตัด รอบก็เร่ง 500-700 rpm อาจจะทำให้รถวิ่งเองได้ด้วยเกียร์ D ที่เผลอเข้าเอาไว้ เรื่องไม่เป็นเรื่องก็มักเป็นเรื่องพาดหัวหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ ครับ ผมเคยโดนกับตัวคือ เผลอ ON D เอาไว้ แล้วรถมันวิ่งไปเอง! เร็วเสียด้วยครับ ในระดับความเร็วสัก 15 กม./ชม. ปีนฟุตบาทชนรั้วข้างบ้านเฉยเลยครับ…เฮ้อ


http://www.9carthai.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: wasan784 ที่ มิถุนายน 13, 2013, 12:10:09 pm
 ขอบคุณครับ  good


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: thara ที่ มิถุนายน 13, 2013, 01:23:29 pm
ขออนุญาติ

อ้างถึง
มาดูกันว่าอาการของเกียร์ Manual ที่มีปัญหาเป็นอย่างไรกันบ้าง
1. เข้าเกียร์ยาก
2. มีเสียงดังเวลาเข้าเกียร์
3. มีเสียงหอนเวลาวิ่ง
4. ขณะวิ่งเวลาถอนคันเร่งจะมีเสียงดังภายในห้องเกียร์

รู้สึกว่าเกียร์ผม อาการจะเป็นทุกข้อเลยคับ รถ 2 เดือน  cry1


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: @ เอ เด็กเมืองชล2.4 @ PajeroSport No.2522 ที่ มิถุนายน 13, 2013, 01:39:03 pm
 ;) ;) ;) ;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: pun191 ที่ มิถุนายน 13, 2013, 02:03:37 pm
 :) :D ยอดเยี่ยม


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: pon306 ที่ มิถุนายน 13, 2013, 02:21:27 pm
ชอบมากความรู้เรืองนี้ สาธุ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: teddyisman ที่ มิถุนายน 13, 2013, 05:05:45 pm
ขอบคุณ ข้อมู่ลดีๆ ที่เรามองข้าม


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: TonAsso ที่ มิถุนายน 14, 2013, 10:17:48 pm
ผมทำผิดทุกอย่างครับ ตั้งแต่ปี 09 ต้องแก้พฤติกรรมใหม่ ขอบคุณครับ สาธุ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: patrick ที่ มิถุนายน 15, 2013, 11:27:46 am
ไฟแดงต้อง N ทุกครั้ง แถมยังเล่นเกียร์ sport อีก  ดูท่าเกียร์น้องปาผมไปไวแน่ ๆ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: suPreme ที่ มิถุนายน 15, 2013, 11:49:18 am
ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: M.C ที่ มิถุนายน 21, 2013, 11:00:45 pm
 heart ขอบคุณครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: ronnarongwong ที่ มิถุนายน 22, 2013, 06:49:55 am
เกียร์ธรรมดาในคู่มือเปลี่ยนน้ำมันทุก 4 หมื่น ใช่ไม๊ครับ..


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: saw ที่ มิถุนายน 22, 2013, 10:12:00 am
วิธีการถนอมเกียร์รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนของการถนอมรักษาเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งการใช้งานและการทำงานของระบบเกียร์ทั้งสองแตกต่างกัน ทำให้อายุการใช้งานและวิธีการถนอมรักษาแตกต่างกันไปด้วยครับ

1.เกียร์ธรรมดา



1. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามระยะทางทุกๆ 20,000 กม.

2. ควรตรวจสอบรอยรั่วของ Seal ว่ามีปัญหาหรือไม่เช่น Seal ท้ายเกียร์ (จะอยู่ระหว่าง Adepter เกียร์ Main – Transfer Case), Switch เกียร์ถอย,  Seal หน้าแปลนเกียร์ 4 ว่ามีจุดไหนที่เกิดการรั่วหรือเปล่า



3. เวลาเดินทางไกล หรือไป Trip ต่างๆ รถของท่าน
อาจ จะต้องลุยน้ำ หลังจากกลับจากการเดินทางให้ตรวจ เช็คสภาพน้ำมันเกียร์ว่ามีน้ำผสมอยู่บ้างหรือไม่ ถ้าหาก มีน้ำผสมอยู่ภายในห้องเกียร์ อาจเป็นสาเหตุทำให้ อุปกรณ์และชิ้นส่วนของ เกียร์สึกหรอได้ง่าย

มาดูกันว่าอาการของเกียร์ Manual ที่มีปัญหาเป็นอย่างไรกันบ้าง
1. เข้าเกียร์ยาก
2. มีเสียงดังเวลาเข้าเกียร์
3. มีเสียงหอนเวลาวิ่ง
4. ขณะวิ่งเวลาถอนคันเร่งจะมีเสียงดังภายในห้องเกียร์



จากรูปภาพที่นำมาเสนอในครั้งนี้ เป็นชิ้นส่วนที่เสียหายภายในห้องเกียร์ สาเหตุเกิดจาก ปล่อยให้น้ำมันเกียร์แห้งไม่ได้ระดับ เนื่องจากเกิดการ ของ Seal และประเก็น และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งคือ ถังน้ำมันเกียร์ หมดสภาพ เพราะ ไม่ได้ตรวจเช็คและเปลี่ยน ถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะทาง ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วน ภายในห้องเกียร์สึกหรอและเกิดความ เสียหายได้ง่าย

 



เพียงแต่ ท่านนำรถยนต์คู่กายของท่านเข้าตรวจเช็ค สภาพและเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ตรงตามระยะทาง หรือทุกๆ 20,000 กม. ตรวจสอบรอยรั่วของ Seal ประเก็น หากพบปัญหาก็รีบแก้ไขแต่เนิ่นๆ เท่านี้ก็จะช่วยยืด อายุการใช้งานของเกียร์รถยนต์ของท่านไปได้อีกนาน

2. เกียร์อัตโนมัติ



1.ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ATF ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง แม้ตามกำหนดที่โรงงานได้กำหนดไว้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km. หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ เรา ติดๆ ขัดๆ ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งาน เดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวัน นานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุดกับเขาหน่อย นึง ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ จึงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราปฏิบัติได้ไม่ยากครับ อย่าถือว่าสิ้นเปลืองเลยนะ

2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อย ควรให้โอกาสมันได้ทำ “หน้าที่อัตโนมัติ” ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนดจังหวะ การเปลี่ยนเกียร์อยู่แล้วเป็นปกติวิสัยมีเจ้าของรถบางท่านที่เชื่อคำโฆษณา ว่าเกียร์ออโตสมัยใหม่สามารถโยกเปลี่ยนได้ตามใจชอบ ก็เลยเอานิสัยเดิมที่เคยใช้รถเกียร์ธรรมดามาใช้กับ AT คือเชนจ์ขึ้น-ลง ปรากฏว่า อายุเกียร์ ไม่ข้ามปีที่ 2 หรือไม่เกิน 40,000 กม. ด้วยซ้ำครับ พัง! สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทั้งวันจนเป็นนิสัย ชิ้นส่วนภายในเครียดตลอดเวลา ความร้อนสูงจากแรงดัน ATF ที่สูงเกินไป ทำให้สึกหรอสูง จนแรงดัน ATF ไม่คงที่ ทุกอย่างพังหมดครับ และพังอย่างเร็วซะด้วยครับ! บางท่านที่ไม่มากประสบการณ์ก็อาจเผลอกด Overdrive (เกียร์สำหรับลดรอบเครื่องยนต์) ไว้ทั้งวัน โดยมิได้สังเกตอาการก็มีครับ

3. ยุคหนึ่งเชื่อกันว่า ถ้าติดไฟแดงก็ควร “พักเกียร์” ผมเองในอดีตก็ทำเช่นนี้บ่อยๆ คือปลดเกียร์เป็น N ทุกครั้งที่ติดไฟแดง โดยหวังว่าจะช่วยเป็นการพักเกียร์! แต่ความจริงกลับไม่ต้องทำเช่นนั้น การใช้งาน AT ให้ยืนนาน ควรเข้าใจว่าทุกครั้งที่เรา “OFF Gear” น้ำมัน ATF จะหยุดแรงดันของมันทันทีครับ จำ “หลุมฉิ่ง” Orifice Valve ที่มีลูกปืนเม็ดเล็กๆ ทนๆ กลิ้งอุดและเปิดวาล์ว ATF ได้ไหมครับ ยามใดที่ ON Gear ลูกปืนในหลุมฉิ่งเหล่านี้จะเปิดให้ ATF ผ่านด้วยแรงดันน้ำมัน ATF ที่อัดอยู่เต็ม VB (Valve body สมองเกียร์) เพื่อ hold ตำแหน่งเกียร์ D อยู่แต่หากเราเข้าตำแหน่ง N เจ้า ATF ก็หยุดเดิน และไม่ “Standby” ลูกปืนเปิด-ปิด Orifice Valve ก็ปิดตัวลงนอนแอ้งแม้งใน “หลุมฉิ่ง” พอเราเข้าเกียร์ D เพื่อออกตัวในจังหวะไฟเขียว…เท่านั้นละครับ ATF มันก็แย่งกันสูบฉีดด้วยแรงดันให้ไหลวกวนใน VB สมองเกียร์ จงคิดเอาเถิดครับว่า วันหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งที่คุณได้ทำเช่นนี้ แรงดัน ATF มันจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา ไม่ Constant สักที ของเหลว (ATF) เมื่อเคลื่อนตัวไหลไป-มาด้วยแรงดันบ่อยๆ ความร้อนก็ไม่คลายแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ สี่แยกแล้วสี่แยกเล่า หยุดแล้วหยุดเล่า Orifice Valve ต้องทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุดกะปริบกะปรอย มันจะทนไหวหรือครับ ต่อไปนี้ให้ทำอย่างนี้ครับหากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควร “Hold D” เอาไว้ โดยเหยียบแป้นเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเข้า OFF Gear เป็น N อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุเกียร์ได้อีกโขเลยละครับ ด้วยวิธีง่ายๆนี้ จำไว้ต่อไปนี้หยุดแป๊บเดียวไม่ต้องปลดเกียร์

4. อย่าปลดให้เป็น N (ว่าง) เพื่อให้รถไหล เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันก่อนหยุดไฟแดง วิธีช่วยประหยัดน้ำมันเช่นนี้ไม่ดีแน่ แม้จะดีบ้างกับความประหยัดเชื้อเพลิงลิตรละ 10-15 บาท แต่เกียร์ออโตมันไม่ชอบควรปล่อยให้มัน ON Gear ไปจนถึงไฟแดงดีกว่าครับ แล้วแตะเบรกหยุดมันจะทนกว่ามากเลยครับ อีกอย่าง ความประหยัดเชื้อเพลิงด้วยวิธีไหลในตำแหน่ง N ก็ช่วยประหยัดแค่ 2-3% เท่านั้นเอง พูดถึงค่าซ่อมเกียร์ราว 2-3 หมื่น จะคุ้มหรือครับ!?

5. การ Take Off แบบในหนัง คือออกรถให้ล้อเอี๊ยดโชว์นั่นน่ะ อย่าทำเป็น อันขาด สิ่งที่จะพังเร็วคือ FP (Friction Plate) ที่เรียงเป็นตับอยู่ในเรือนเกียร์ไงครับ มันจะสึกจากความร้อนที่เสียดสีฉับพลัน น้ำมัน ATF ก็ร้อนสูง (ฮีต) บ่อยๆ เข้า เจ้า FP ซึ่งหนาแค่ 2-3 มิลลิเมตร ก็ไหม้ได้ครับ นึกถึงภาพเบิ้ลคันเร่ง บรื้นๆๆ… ในขณะที่ AT อยู่ในตำแหน่ง N วัดรอบขึ้นไปตั้ง 3,000-5,000 rpm แล้วโยกมาที่ N ทันที “จ๊ากโชว์” ได้แน่ครับ แต่ตับไตไส้พุงของ AT มันจะพังคาที่ ในการทำเช่นนี้ไม่ถึง 10 ที ลำพังเจ้าของแบบเราๆ คงไม่ทำเช่นนี้ แต่กล่าวเผื่อไว้สำหรับวัยรุ่นรถซิ่งนะครับ แอบเอารถคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กอู่บางคนแอบเอารถลูกค้าไปซิ่งเล่น ปรากฏว่าพังครับ พังชั่วไม่ข้ามคืนนี้แหละครับฉะนั้น อย่า Take Off เพื่อ Show Off เป็นอันขาดครับ!

6. ก่อนเข้า D ควรเหยียบแป้นเบรกไว้ก่อนหรือไม่? ก็ได้ครับ จะเหยียบก็ได้ หรือไม่ต้องก็ได้ ในกรณีที่เหยียบแป้นเบรกไว้ก็เพื่อไม่ให้รถกระตุกในขณะที่เข้า D เท่านั้นเอง หากเป็นรถเก่า เกียร์รุ่นเก่าๆ เวลา On gear จะกระตุกจนตกใจ ก็ควรเหยียบแป้นเบรกให้เป็นนิสัยก่อนเข้า D เพราะเกียร์ AT รุ่นเก่าจะกระตุกมากจนน่ารำคาญ รวมไปถึงเกียร์ AT ที่มีอายุการใช้งานมานมนานหลายปีอาจมีอาการสึกหรอให้เห็นชัดด้วยอาการกระตุก อย่างแรงน่ารำคาญ การเหยียบแป้นเบรกเพื่อช่วย On gear ด้วยความนุ่มนวลไว้ก่อนเข้า D ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ ส่วนจำเป็นมากน้อยอย่างไรก็แล้วแต่กรณีครับ แต่ผมเหยียบแป้นเบรกจนเป็นนิสัยก็ไม่ลำบากแต่อย่างใดครับ

7. หลังจากสตาร์ตรถเกียร์ AT แล้ว อย่าผละออกจากรถไปที่อื่น ! บางครั้งเจ้าของรถอาจเผลอเข้าตำแหน่ง D เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ลำพังเมื่อเปิดแอร์ เอาไว้ เจ้าอุปกรณ์ Idle UP Speed หรือเรียกกันว่า “Vacuum Air” อาจตัดเอาดื้อๆ เพราะอุณหภูมิความเย็นหนาวของแอร์แต่ละเวลา เย็นเร็วเย็นช้าไม่เท่ากัน ที่ตำแหน่งเกียร์ D บางครั้งเมื่อมีโหลดแอร์ รถเราถูกโหลดด้วยการเปิดแอร์ รถก็อาจจะหยุดนิ่งได้ แต่พอ Vacuum Air ตัด เครื่องยนต์ก็ปลดโหลดแอร์ไปอีกหน่อย รอบเครื่องยนต์เร่งขึ้นเอง ราว 500-700 rpm ก็อาจจะส่งผลโดยตรงให้เกียร์ ON D ทันที รถอาจวิ่งออกไปได้ดื้อๆ หรือบางทีโรงจอดรถเป็นเนินลาดขึ้น พอ Vacuum Air ตัด รอบก็เร่ง 500-700 rpm อาจจะทำให้รถวิ่งเองได้ด้วยเกียร์ D ที่เผลอเข้าเอาไว้ เรื่องไม่เป็นเรื่องก็มักเป็นเรื่องพาดหัวหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ ครับ ผมเคยโดนกับตัวคือ เผลอ ON D เอาไว้ แล้วรถมันวิ่งไปเอง! เร็วเสียด้วยครับ ในระดับความเร็วสัก 15 กม./ชม. ปีนฟุตบาทชนรั้วข้างบ้านเฉยเลยครับ…เฮ้อ


http://www.9carthai.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/
เกยร์อัตโนมัติ
ข้อ 2 กล่องเกียร์สั่งให้เกียร์ทำงานตามโปรแกรมที่สั่งไว้ เเต่ด้วยความไม่เรียบร้อยของทางกายภาพบางอย่างของระบบเกียร์ จึงอาจทำให้เกิดความผิดพลาดขณะส่งกำลัง ระหว่างรอบเครื่องยนต์
เเละความเร็วได้ บางครั้งจึงมีความจำเป็นต้องใช้ระบบ Manual เข้ามาช่วย ซึ่งในทางปฏิบัติเเล้วเราไม่สามารถเปลี่ยนเกียร์ +,-  ได้ตามใจชอบเหมือนเกียร์กระปุก เช่น 4 มา 2  ได้ทันที เพราะทุกอย่างได้ประมวลผลเพื่อถนอมเกียร์ ผ่านกล่องเกียร์เรียบร้อยเเล้ว ส่วนพฤติกรรมการขับรวมถึงการดูเเล บำรุงรักษาก็ส่งผลต่ออายุการใช้งาน ต่อระบบเกียร์ทั้งสองเเบบพอๆกัน

สมาชิกท่านใดมีความเห็นต่าง ยินดีเเชร์ข้อมูลครับ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: HMOOMOO ที่ มิถุนายน 23, 2013, 09:34:18 am
 ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: gunzu_ton ที่ มิถุนายน 24, 2013, 04:12:31 pm
สอบถามท่าน เจ้าของกระทู้นิดครับ

แล้วถ้ารถติดนานๆ เราค้างอยู่ที่ D จะทำให้เปลืองครัทไหมครับ

คือคันเก่าผมอะ ผมว่า ผมเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตั้งแต่ระยะ 30000 โล เคยฟลัทชิ่งเกียร์ด้วย แต่สุดท้าย เหมือนว่ามีอาการคลัทหมด

คันเก่า ไม่ว่าจะติดไฟแดงนานแค่ไหน ผมจะไม่ขยับมาที่เกียร์ N เลยครับ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: เปาบางบ่อ ที่ กรกฎาคม 02, 2013, 10:34:19 am
มีปุ่มกด Like มั้ยนี่จะกดให้สักร้อยครั้ง ได้ความรู้มากครับ


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: It@mobile2013 ที่ กรกฎาคม 03, 2013, 01:06:12 pm
เข้าใจผิดมาตลอดเหมือนกันว่า ไฟแดงต้องเป็น N
 eie


หัวข้อ: Re: วิธีการถนอมเกียร์ธรรมดา และการถนอมรักษาเกียร์อัตโนมั
เริ่มหัวข้อโดย: LEKJALEK ที่ กรกฎาคม 09, 2013, 04:54:24 pm
ได้ความรู้หลายๆ ขอบคุณป๋าครับ eie