Languages
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พัดลมไฟฟ้า  (อ่าน 74096 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #30 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2014, 04:39:33 pm »


ยินดีที่ได้รู้จักครับป๋าปุ้ย เห็นพัดผมไฟฟ้าของป๋าปุ้ยแล้ว แจ่มมากครับ ใครสนใจก็จัดไปครับ ส่วน 2.4 ของผมป๋าปุ้ยแนะนำว่า OK อยู่แล้วครับ และต้องขอบคุณสำหรับกล่องสลับสัญาณ AV ในการทำโปรเจคเล็กๆ กล้องมองหลังของผมครับ

ถ้าเสร็จแล้วจะโพสต์ให้ดูนะครับ และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำแล้วความรู้นะครับ  สาธุ

จัดเลยครับป๋าหนึ่ง ปาเราสูง มีกล้องหลังไว้สบายใจกว่าเยอะ

ผมมาคิดๆดูตามข้อมูลที่ป๋าหนึ่งบอกเรื่องความร้อนแถวๆ 100 องศาเวลารถติดในปา 2.4 แล้ว ก็คงเพราะฟรีคลัทช์หนืดน้อย รอบเครื่องเดินเบาทำให้พัดลมหมุนได้ไม่มาก
แต่ก็ตามที่คุยกันครับว่า 100 องศานี่ไม่ผิดปกติ ไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ครับ
แต่... ไม่แน่ใจว่าป๋าเจอปัญหาแอร์ไม่ค่อยเย็นไหมเวลารถติด
ตามลักษณะด้านบนแอร์อาจจะเย็นช้าและไม่ค่อยเย็น เพราะความร้อนจากหม้อน้ำถูกดูดไปด้านหลังได้ช้า ก็จะกระจายไปด้านหน้าที่แผงแอร์ครับ
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #31 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2014, 04:52:07 pm »

ผมเอารายละเอียดอุปกรณ์และวงจรทั่วๆไปของพัดลมไฟฟ้ามาลงไว้เป็นข้อมูลครับ

มาดูเรื่องอุปกรณ์ที่ต้องใช้กันก่อน ข้อมูลที่ผมจะลงเอาแค่พื้นฐานที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้อุปกรณ์แต่ละตัวพอนะครับ ไม่ขอลงรายละเอียดมากนัก...

1. พัดลมไฟฟ้า
พัดลมไฟฟ้าที่ติดตั้งหลังหม้อน้ำจะเป็นแบบดูด (ส่วนพัดลมหน้าแผงแอร์ในปาเราจะเป็นแบบเป่า) ใช้กับไฟกระแสตรง (DC) 12 โวลท์ ก็จะมีทั้งแบบทำงานสเตปเดียว หรือทำงาน 2 สเตป (2 สปีด) โดยเราดูเบื้องต้นได้จากสายไฟที่ต่อออกมาจากตัวพัดลมไฟฟ้า
หากมีสองเส้นคือทำงานสเตปเดียว หมุนด้วยความเร็วเดียวเมื่อจ่ายไฟให้
หากมี 4 หรือ 3 เส้น (กราวด์ร่วม) ก็จะทำงานได้ 2 สเตป เมื่อเราจ่ายไฟเข้าที่สายไฟคู่นึงพัดลมก็จะหมุนเร็วครึ่งนึง (โดยประมาณ) หากจ่ายไฟให้สองคู่ก็จะหมุนเร็วเต็มที่
ในรูปเป็นพัดลมที่ผมเอามาทดลองครับ มีสายออกมาก 4 เส้น ทำงานได้  2 สเตป



อีกเรื่องที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับพัดลมระบายความร้อนคือกระแสที่ใช้
โดยทั่วไปพัดลมขนาดใบ 12-16 นิ้วที่เห็นอยู่ในบ้านเราจะต้องการกระแสประมาณ 10 - 20 แอมป์ (ขึ้นอยู่กับกำลังของมอเตอร์ ความเร็วรอบ) ซึ่งกระแสเท่านี้ไม่น่าจะมีปัญหาที่เอามาใช้ในปาเรา
แต่ที่จะต้องเน้นเพราะผมเห็นในเวปต่างประเทศบางที่ใช้พัดลมขนาด 16-18 นิ้วบางรุ่นซึ่งกินกระแสมากถึง 40 - 45 แอมป์ อันนี้คงไม่ดีกับ alternator (หรือไดชาร์ท) และแบตในรถเราครับ ถ้าผมจำไม่ผิดเจ้า alternator ในเครื่อง 4D56 จะเป็นขนาด 90 แอมป์ครับ

พัดลมขนาดใบ 12 นิ้วที่ผมใช้ 1 ตัวทำงานเต็มที่ (2 สเตป) กินกระแสประมาณ 12 แอมป์ 2 ตัว 24 แอมป์ก็ดูไม่หนักหนาเกินไปครับ

2. รีเลย์

ส่วนมากที่นิยมเอามาต่อเพิ่มในรถกันก็จะเป็นแบบในรูป ซึ่งอาจจะมี 4 หรือ 5 ขา การเอามาใช้ในงานนี้สิ่งที่เราต้องพิจารณาคือคอนแทคของรีเลย์ (ขา 30, 87, 87a) รองรับกระแสได้กี่แอมป์? รีเลย์ที่นิยมใช้กันแบบในรูป คอนแทคจะทนกระแสได้ 30 - 40 แอมป์ (ต้องดูจากสเปค ตอนซื้อ)




รีเลย์จะเข้ามาช่วยให้เราสามารถใช้ไฟกระแสน้อยๆเพื่อควบคุมตัด/ต่อวงจรที่ต้องการกระแสมากๆได้ ซึ่งเราจะเอารีเลย์มาใช้ในการตัด/ต่อจ่ายไฟให้วงจรพัดลมไฟฟ้า
การทำงานของรีเลย์คือ
ในขณะที่เราไม่จ่ายไฟให้คอยล์รีเลย์ (ขา 85 และ 86) ขา 87a จะต่อเข้ากับขา 30  (รีเลย์บางตัวไม่มีขา 87a) ส่วนขา 87 จะลอยคือไม่ต่อกับอะไร
เมื่อเราจ่ายไฟให้คอยล์รีเลย์ รีเลย์ก็จะทำการต่อ ขา 87 เข้ากับขา 30 ขา 87a จะลอย

ส่วนประกอบอีกตัวนึงคือซ็อกเก็ตรีเลย์ ช่วยให้เราต่อสายไฟและถอดเปลี่ยนรีเลย์ได้ง่าย


3. เทอร์โมสวิทช์ (บางที่เรียกกันว่าสวิทช์พัดลมไฟฟ้า)

เจ้าตัวนี้เปรียบเหมือนสมองของระบบพัดลมไฟฟ้าครับคือมันจะทำการเปิดหรือปิดพัดลมไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่กำหนด
โดยเทอร์โมสวิทช์แต่ละรุ่นจะระบุมาจากผู้ผลิตว่า สวิทช์ภายในจะต่อหรือตัดที่อุณหภูมิเท่าไหร่ เช่น
เทอร์โมสวิทช์แบบ Normally Open (ปกติสวิทช์เปิด, ตัดวงจร) ในรูปผู้ผลิตระบุว่าสวิทช์จะต่อวงจรที่ 85 องศา และหากต่อวงจรไปแล้วจะตัดอีกทีที่ 80 องศา


ส่วนอันนี้มีสวิทช์อยู่ภายใน 2 ตัว จะตัด/ต่อวงจรที่ 2 ช่วงอุณหภูมิคือ
สวิทช์ที่ 1 ต่อวงจรที่ 97 องศา และเมื่อต่อแล้วจะตัดที่ 87 องศา
สวิทช์ที่ 2 ต่อวงจรที่ 100 องศา และเมื่อต่อแล้วจะตัดที่ 95 องศา


รูปภาพทั้งสองรูปด้านบนผมเอามาจาก eBay ครับ

การติดตั้งเทอร์โมสวิทช์ สำหรับรถดัดแปลง (รถที่ใช้พัดลมไฟฟ้ามาจากโรงงานจะมีเทอร์โมสวิทช์ติดตั้งมาอยู่แล้ว)
โดยมากแล้วรถที่ทำการเปลี่ยนหม้อน้ำไปด้วยมักจะฝังเทอร์โมสวิทช์ลงบนหม้อน้ำใหม่เลย ซึ่งตรงนี้ร้านทำหม้อน้ำจัดการให้ได้


อีกทางเลือกนึงคือติดตั้งเทอร์โมสวิทช์ไว้บนอแดปเตอร์และทำการตัดท่อยางแล้วใส่อแดปเตอร์นี้ลงไป (เหมือนกับการติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ใช้ใน Water temp gauge)
แต่เจ้าอแดปเตอร์แบบนี้ต้องสั่งทำครับ ผมยังไม่เห็นมีขายแบบที่สามารถใส่เทอร์โมสวิทช์ลงไปได้เลย


สองรูปบนนี้ผมแปะลิงค์ไปยังเวปต้นฉบับเขาเลยครับ

4. สายไฟ เป็นอีกเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามครับ
ขนาดและความยาวของสายไฟที่ใช้ในแต่ละจุดจะต้องมีขนาดเหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟที่ใช้
เช่น
สายไฟที่ใช้ในวงจรส่วนที่ต้องรับกระแสสูง เช่นส่วนที่ต่อจากแบตเตอรรี่ไปยังคอนแทครีเลย์ จากคอนแทครีเลย์ไปยังพัดลม จากพัดลมลงกราวด์ เราจะต้องพิจารณาขนาดสายไฟที่ใช้ (จริงๆแล้วเราดูขนาดของตัวนำไฟฟ้าในสายไฟ) เช่น หากพัดลมเรากินกระแสสูงสุด 20 แอมป์ สายที่ใช้ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 18AWG (หรือสายเบอร์1) ที่ความยาวไม่เกิน 2 เมตร (ความยาวรวมจากแบตถึงพัดลม)
ในวงจรที่ใช้กระแสสูง ความยาวของสายไฟเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเพราะจะมีผลในเรื่องแรงดันไฟตกคร่อมในสาย ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าปลายทางได้รับแรงดันน้อยกว่าแหล่งจ่าย
หมายเหตุ ตัวเลขขนาดสายไฟและความยาวข้างบนเป็นการประมาณครับ หากต้องการตัวเลขชัดๆสามรถหาได้จากในเน็ตมีมากมายหลายแหล่งครับ และควรเพิ่มขนาดสายไฟจากขั้นต่ำไปซัก 1-2 เบอร์เพื่อความปลอดภัย

ในส่วนวงจรขับคอยล์ของรีเลย์แบบที่เราพูดถึงในข้อ 2 นั้นกินกระแสไฟประมาณ 100 ไม่เกิน 200 มิลลิแอมป์ (0.1 ไม่เกิน 0.2 แอมป์) ดังนั้น ถึงเราจะใช้สายไฟเส้นเล็กก็สามารถรองรับกระแสปริมาณเท่านั้นได้ แต่หากพิจารณาในเรื่องการติดตั้งใช้งานในห้องเครื่องซึ่งมีความร้อนและอาจมีการเสียดสี การใช้สายไฟเส้นใหญ่ซักนิดที่มีฉนวนหุ้มทองแดงที่ดูหนาและทนหน่อยก็จะเหมาะสมกว่า

อุปกรณ์อีกตัวนึงที่ผมขอรวมไว้ในหัวข้อนี้คือฟิวส์ครับ
วงจรพัดลมไฟฟ้านั้นใช้ไฟเยอะ ดังนั้นควรต่อฟิวส์เพิ่มและขนาดของฟิวส์ที่ใช้ต้องเหมาะสมกับปริมาณกระแสที่ใช้
ในระบบที่ผมทำเป็น 2 วงจรพัดลมไฟฟ้า ใช้ฟิวส์ 20แอมป์ สำหรับแต่ละวงจร
อีกส่วนที่ต้องพิจารณาคือขนาดสายไฟต้องรองรับกระแสได้มากกว่าฟิวส์ที่ใช้ หากเกิดการลัดวงจรฟิวส์จะต้องขาดก่อนที่สายไฟจะร้อนจนละลาย จนเกิดไฟไหม้ได้ครับ

หมดเรื่องอุปกรณ์ละครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2014, 05:03:21 pm โดย ปาโลมา » บันทึกการเข้า
xenogear
Full Member
***

like: 18
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1056



« ตอบ #32 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2014, 10:53:31 pm »


ยินดีที่ได้รู้จักครับป๋าปุ้ย เห็นพัดผมไฟฟ้าของป๋าปุ้ยแล้ว แจ่มมากครับ ใครสนใจก็จัดไปครับ ส่วน 2.4 ของผมป๋าปุ้ยแนะนำว่า OK อยู่แล้วครับ และต้องขอบคุณสำหรับกล่องสลับสัญาณ AV ในการทำโปรเจคเล็กๆ กล้องมองหลังของผมครับ

ถ้าเสร็จแล้วจะโพสต์ให้ดูนะครับ และขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำแล้วความรู้นะครับ  สาธุ

จัดเลยครับป๋าหนึ่ง ปาเราสูง มีกล้องหลังไว้สบายใจกว่าเยอะ

ผมมาคิดๆดูตามข้อมูลที่ป๋าหนึ่งบอกเรื่องความร้อนแถวๆ 100 องศาเวลารถติดในปา 2.4 แล้ว ก็คงเพราะฟรีคลัทช์หนืดน้อย รอบเครื่องเดินเบาทำให้พัดลมหมุนได้ไม่มาก
แต่ก็ตามที่คุยกันครับว่า 100 องศานี่ไม่ผิดปกติ ไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ครับ
แต่... ไม่แน่ใจว่าป๋าเจอปัญหาแอร์ไม่ค่อยเย็นไหมเวลารถติด
ตามลักษณะด้านบนแอร์อาจจะเย็นช้าและไม่ค่อยเย็น เพราะความร้อนจากหม้อน้ำถูกดูดไปด้านหลังได้ช้า ก็จะกระจายไปด้านหน้าที่แผงแอร์ครับ


เรื่องแอร์ไม่ค่อยเย็นก็มีบ้างตามที่ป๋าสันนิษฐานหร่ะครับ ส่วนเรื่องความหนืดของตัวพัดลมเคยปรึกษากับป๋าเอ เมืองชลแล้วครับป้าแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันฟรีคลัทช์ เพราะป๋าเอทำแล้วผลออกมาเป็นที่น่าพอใจครับ ตามนี้ครับ http://www.pajerosport-thailand.com/forum/index.php?topic=22030.0 แต่ว่าผมเองไม่สะดวกที่จะทำเองหน่ะ ครั้นจะให้ป๋าเอทำให้ ป๋าแกก็อยู่ชลบุรีแหน่ะครับ เดี๋ยวหาโอกาสแหมาะๆ ก่อนครับค่อยทำ
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #33 เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 09:10:56 pm »


เรื่องแอร์ไม่ค่อยเย็นก็มีบ้างตามที่ป๋าสันนิษฐานหร่ะครับ ส่วนเรื่องความหนืดของตัวพัดลมเคยปรึกษากับป๋าเอ เมืองชลแล้วครับป้าแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันฟรีคลัทช์ เพราะป๋าเอทำแล้วผลออกมาเป็นที่น่าพอใจครับ ตามนี้ครับ http://www.pajerosport-thailand.com/forum/index.php?topic=22030.0 แต่ว่าผมเองไม่สะดวกที่จะทำเองหน่ะ ครั้นจะให้ป๋าเอทำให้ ป๋าแกก็อยู่ชลบุรีแหน่ะครับ เดี๋ยวหาโอกาสแหมาะๆ ก่อนครับค่อยทำ

หากความหนืดฟรีคลัทช์เพิ่มขึ้นก็จะระบายความร้อนได้ดีขึ้น แต่ผลเสียที่ตามมาคือเสียงดังและกินกำลังเครื่องเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนี้ต้องพิจารณาครับ
ถ้าป๋ายังพอใจความช้าเร็วในการทำความเย็นของระบบแอร์ในปาของป๋าอยู่ก็ยังไม่แนะนำให้ทำอะไรกับฟรีคลัทช์ครับ
ส่วนเรื่องอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นนั้นไม่มีอะไรน่าห่วงในตอนนี้ และป๋าดูอยู่ตลอดอยู่แล้ว  suadyod
บันทึกการเข้า
xenogear
Full Member
***

like: 18
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1056



« ตอบ #34 เมื่อ: กันยายน 01, 2014, 09:15:03 pm »


เรื่องแอร์ไม่ค่อยเย็นก็มีบ้างตามที่ป๋าสันนิษฐานหร่ะครับ ส่วนเรื่องความหนืดของตัวพัดลมเคยปรึกษากับป๋าเอ เมืองชลแล้วครับป้าแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันฟรีคลัทช์ เพราะป๋าเอทำแล้วผลออกมาเป็นที่น่าพอใจครับ ตามนี้ครับ http://www.pajerosport-thailand.com/forum/index.php?topic=22030.0 แต่ว่าผมเองไม่สะดวกที่จะทำเองหน่ะ ครั้นจะให้ป๋าเอทำให้ ป๋าแกก็อยู่ชลบุรีแหน่ะครับ เดี๋ยวหาโอกาสแหมาะๆ ก่อนครับค่อยทำ

หากความหนืดฟรีคลัทช์เพิ่มขึ้นก็จะระบายความร้อนได้ดีขึ้น แต่ผลเสียที่ตามมาคือเสียงดังและกินกำลังเครื่องเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนี้ต้องพิจารณาครับ
ถ้าป๋ายังพอใจความช้าเร็วในการทำความเย็นของระบบแอร์ในปาของป๋าอยู่ก็ยังไม่แนะนำให้ทำอะไรกับฟรีคลัทช์ครับ
ส่วนเรื่องอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นนั้นไม่มีอะไรน่าห่วงในตอนนี้ และป๋าดูอยู่ตลอดอยู่แล้ว  suadyod

Ok ขอบคุณครับ ผมก็ค่อยดูอยู่ตลอดครับ 
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #35 เมื่อ: กันยายน 03, 2014, 06:03:50 pm »

กลับมาต่อเรื่องวงจรพัดลมไฟฟ้าครับ

เริ่มจากแบบง่ายที่สุดก่อนและเป็นพื้นฐานของวงจรพัดลมไฟฟ้าอื่นๆที่ผมจะเอามาลงทุกวงจร
อุปกรณ์ที่ใช้ พัดลมแบบสเตปเดียว 1 ตัว รีเลย์ 1 ตัว เทอร์โมสวิทช์ (แบบ NO - Normally Open) 1 ตัว
อธิบายการทำงานสั้นๆคือ เมื่อเราสตาร์ทรถ หรือบิดสวิทช์กุญแจไปตำแหน่ง ACC (หรืออาจจะต่อกับ ON) ก็จะมีไฟพร้อมจ่ายให้กับคอยล์รีเลย์ (ขา 86)
เมื่ออุณหภูมิสูงถึงจุดทำงานของเทอร์โมสวิทช์ มันจะต่อคอยล์รีเลย์ (ขา 85) ลงกราวด์ ครบวงจร ทำให้คอนแทครีเลย์ (ขา 30 - 87) ต่อไฟจ่ายให้กับมอเตอร์พัดลมครับ
และเมื่ออุณหภูมิต่ำลงถึงจุดนึงเทอร์โมสวิทช์ก็จะตัดไฟออกจากคอยล์รีเลย์ คอนแทครีเลย์ก็จะตัดไฟออกจากมอเตอร์พัดลมไฟฟ้า พัดลมก็จะหยุดหมุน

บันทึกการเข้า
azure_abb
Jr. Member
**

like: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 765



« ตอบ #36 เมื่อ: กันยายน 03, 2014, 07:26:32 pm »

รอดูให้ไว  kiki kiki kiki
บันทึกการเข้า

ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #37 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 06:26:34 pm »

รอดูให้ไว  kiki kiki kiki

ป๋า azure_abb ท่าทางจะเป็นวัยรุ่นใจร้อน แบบนี้ต้องรบกวนป๋าช่วยทดสอบกล่องคันเร่งพลังม้า กับดันรางช้างถีบ เวอร์ชั่นบั๊กเพียบซักหน่อย  ii
ล้อเล่นนะครับ  สาธุ

ขอเวลานิดครับ เดี๋ยวก๊อปวงจรที่ 1 มาแก้เป็นอีก 3 วงจรแล้วพรุ่งนี้เอาลงรวดเดียวเลยครับ
บันทึกการเข้า
azure_abb
Jr. Member
**

like: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 765



« ตอบ #38 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 07:20:43 pm »

รอดูให้ไว  kiki kiki kiki

ป๋า azure_abb ท่าทางจะเป็นวัยรุ่นใจร้อน แบบนี้ต้องรบกวนป๋าช่วยทดสอบกล่องคันเร่งพลังม้า กับดันรางช้างถีบ เวอร์ชั่นบั๊กเพียบซักหน่อย  ii
ล้อเล่นนะครับ  สาธุ

ขอเวลานิดครับ เดี๋ยวก๊อปวงจรที่ 1 มาแก้เป็นอีก 3 วงจรแล้วพรุ่งนี้เอาลงรวดเดียวเลยครับ

ผมขับเดิมๆมีแค่ท่อกับ ดิสก์หลังแค่นั้นแหล่ะ กล่องพลังช้างสาร ไม่มี Ok.. Ok..
บันทึกการเข้า

payusine
Newbie
*

like: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148



« ตอบ #39 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 08:35:55 pm »

ป๋าครับ รีเลย์ที่ติดเพิ่ม เราเอาไปติดในกล่อง รีเลย์ ตามใน web นี้ได้ไหมครับ ป๋า เพราะเห็นช่องรีเลย์ยังเหลืออยู่สำหรับพัดลมอีกตัวครับ  ถ้าได้จะได้ลองมั๊งครับhttp://www.thaitritonclub.com/forum/showthread.php?t=65280
บันทึกการเข้า

ID 4166
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #40 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 10:06:56 pm »


ผมขับเดิมๆมีแค่ท่อกับ ดิสก์หลังแค่นั้นแหล่ะ กล่องพลังช้างสาร ไม่มี Ok.. Ok..

ตามนั้นก็เยี่ยมละครับ ดิสก์หลังผมก็อยากได้แต่ยังไม่ได้เริ่มหยอดกระปุกซักที
สำหรับผมปาเราเรี่ยวแรงพอตัวอยู่แล้วครับ ช่วงลอยตัวแล้วเหยียบขึ้นดีมากๆ  Cheesy แต่ก็ต้องทำใจนิดๆกับช่วงความเร็วต่ำที่กำลังไม่ค่อยต่อเนื่องเท่าไหร่ รถคันใหญ่ น้ำหนักเยอะ พอรับได้ครับ
ดัน ยกหากจูนไม่ดีควันดำเยอะ เกิดผลเสียทั้งต่อรถเราเองและเห็นใจมอไซกับคนเดินถนนครับ ผมเลยเปลี่ยนแนวมาแก้เรื่องอื่นโดยไม่หลอก ECU ดีกว่า

แต่ว่า... ป๋าเปลี่ยนท่อนี่หวังว่าคงไม่ได้ตัดแคทใช่ไหมครับ  ii
ใช้ท่ออะไร ถูกใจ ไม่ถูกใจแค่ไหน หากไม่สะดวก ทาง PM ก็ได้ครับ
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #41 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 10:19:38 pm »

ป๋าครับ รีเลย์ที่ติดเพิ่ม เราเอาไปติดในกล่อง รีเลย์ ตามใน web นี้ได้ไหมครับ ป๋า เพราะเห็นช่องรีเลย์ยังเหลืออยู่สำหรับพัดลมอีกตัวครับ  ถ้าได้จะได้ลองมั๊งครับhttp://www.thaitritonclub.com/forum/showthread.php?t=65280

เพิ่งรู้ว่าไตรตั้นเขาไม่มีพัดลมเป่าแผงแอร์ติดมาให้
เจ้ารีเลย์ตัวที่ว่างอยู่ผมเข้าใจว่าไม่ได้ใช้งานทั้งในปาและในไตรตั้นครับ คิดว่าคงมีไว้สำหรับรถรุ่นอื่นๆที่ติดตั้งพัดลมไฟฟ้ามาจากโรงงาน (ใช้กล่องรีเลย์ร่วมกันในรถหลายรุ่น)
ลองดูที่ขั้วต่อ จะเห็นว่าไม่มีสายต่ออยู่ ปล่อยว่างไว้เฉยๆ ดังนั้นใช้ไม่ได้ครับ หากจะใช้จริงๆก็ต้องเดินสายไฟใหม่อยู่ดีและรื้อกล่องรีเลย์ออกมาใส่หางปลาเข้าไปครับ

หากจะทำพัดลมไฟฟ้าแยกเป็นสองชุดเหมือนที่ผมทำต้องใช้รีเลย์สองตัว ดังนั้นทำแยกไว้ข้างนอกดีกว่าครับ
หากสนใจอยู่ ประเมินผลดีผลเสียแล้วลุยเลยครับป๋า  yes!!
บันทึกการเข้า
azure_abb
Jr. Member
**

like: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 765



« ตอบ #42 เมื่อ: กันยายน 04, 2014, 10:41:24 pm »


ผมขับเดิมๆมีแค่ท่อกับ ดิสก์หลังแค่นั้นแหล่ะ กล่องพลังช้างสาร ไม่มี Ok.. Ok..

ตามนั้นก็เยี่ยมละครับ ดิสก์หลังผมก็อยากได้แต่ยังไม่ได้เริ่มหยอดกระปุกซักที
สำหรับผมปาเราเรี่ยวแรงพอตัวอยู่แล้วครับ ช่วงลอยตัวแล้วเหยียบขึ้นดีมากๆ  Cheesy แต่ก็ต้องทำใจนิดๆกับช่วงความเร็วต่ำที่กำลังไม่ค่อยต่อเนื่องเท่าไหร่ รถคันใหญ่ น้ำหนักเยอะ พอรับได้ครับ
ดัน ยกหากจูนไม่ดีควันดำเยอะ เกิดผลเสียทั้งต่อรถเราเองและเห็นใจมอไซกับคนเดินถนนครับ ผมเลยเปลี่ยนแนวมาแก้เรื่องอื่นโดยไม่หลอก ECU ดีกว่า

แต่ว่า... ป๋าเปลี่ยนท่อนี่หวังว่าคงไม่ได้ตัดแคทใช่ไหมครับ  ii
ใช้ท่ออะไร ถูกใจ ไม่ถูกใจแค่ไหน หากไม่สะดวก ทาง PM ก็ได้ครับ

ได้ pm จัดปาย ii ii
บันทึกการเข้า

ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #43 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 01:06:47 pm »


ได้ pm จัดปาย ii ii

ยินดีที่ได้รู้จักครับป๋า  ii
บันทึกการเข้า
ปาโลมา
Newbie
*

like: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286


« ตอบ #44 เมื่อ: กันยายน 05, 2014, 01:09:38 pm »

มาลงวงจรที่เหลือครับ
-------------------------------
แบบที่ 2 พัดลมแบบสเตปเดียว สองตัว
อันนี้จะเหมือนกับวงจรแบบแรกแต่แยกออกเป็นสองวงจร
อุปกรณ์ที่ใช้ พัดลมแบบสเตปเดียว 2 ตัว รีเลย์ 2 ตัว เทอร์โมสวิทช์แบบ 2 คอนแทคตัดต่อ 2 อุณหภูมิ (ไม่รู้มีชื่อเรียกสั้นๆหรือเปล่า) 1 ตัว (มี 3 ขา หรือมากกว่าในบางรุ่น)

เพื่อให้ง่ายในการอธิบายผมขอสมมติว่าเราใช้เทอร์โมสวิทช์ตัด/ต่อวงจร 2 ช่วงอุณหภูมิตามที่โพสตัวอย่างไปก่อนหน้านี้ครับ
การทำงานก็จะเหมือนแบบที่ 1 สองวงจรคือ
วงจรที่ 1 พัดลมตัวที่ 1 ทำงานที่ 97 องศา หยุดที่ 87 องศา,  วงจรที่ 2 พัดลมตัวที่ 2 ทำงานที่ 100 องศา หยุดที่ 95 องศา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2014, 04:06:22 pm โดย ปาโลมา » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 7   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.18 | SMF © 2006-2009, Simple Machines
by Pajerosport-Thailand TEAM
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 21 คำสั่ง